วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซีเรีย : อะไรคือประเด็นที่แท้จริง...?


[ ซีเรีย : อะไรคือประเด็นที่แท้จริง...? ]

.. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา รัสเซียในนามของสหภาพโซเวียตได้สร้างกองทัพเรืออันยิ่งใหญ่ที่เน้นการทำลาย เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ และ ได้ทุ่มเทการลงทุนให้กับการสร้างเรือรบและเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือดำน้ำ

.. การเน้นปฏิบัติการของกองทัพเรือไปที่เรือดำน้ำ ได้นำไปสู่การที่เรือรบของรัสเซียประสพกับความล้าหลังต่อสหรัฐฯเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น เรือพิฆาตอะกุลา-คลาส เอส.เอส.เอ็น. เนอร์ปา ที่ได้เริ่มสร้างมา๑๕ปี โดยเริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑ เพิ่งจะทำการสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๔๖

.. การที่ล้าหลังต่อทางฝ่ายสหรัฐฯได้นำไปสู่ความพยายามต่างๆรัสเซีย ซึ่งได้นำไปสู่การที่เวเนซูเอล่ากลายเป็นคิวบายุคใหม่ และ ซีเรียกำลังจะกลายเป็นแองโกล่า ว่าด้วยการสู้รบกันภายในของฝ่ายต่างๆและความยุ่งยากในการหาข้อยุติที่ต่าง ฝ่ายต่างก็มีเหตุผลอันซ่อนเร้นที่นอกเหนือไปจากสันติภาพของซีเรีย ซึ่ง ไม่ใช่เรื่องยากหากรัสเซียและอเมริกันจะร่วมมือกันเพื่อสันติจริงๆ

.. ความล้าหลังของกองทัพเรือของรัสเซียได้นำไปสู่เหตุการณ์ที่อับอายขายหน้าที่ จำต้องทนกล้ำกลืนในระยะ๘-๑๐ปีที่ผ่านมาหลายต่อหลายครั้งและได้นำไปสู่การ กระทำที่ท้าทายต่ออำนาจของอเมริกันในบางครั้งเพื่อการรักษาหน้า

- การเรียนรู้ไปกับความผิดพลาดของการปฏิบัติ หรือ Learning Curve : สิงหาคม ๒๕๔๖ กองทัพเรือของรัสเซียได้ทำการซ้อมรบเพื่อแสดงแสนยานุภาพ ต่อหน้าประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ซึ่งสังเกตการซ้อมรบอยู่บนเรือใต้ฝุ่น-คลาส เอส.เอส.บี.เอ็น อาร์คแองเจิ้ล แต่เรือโนโวมอสโคว และ เรือคาเรลิย่า ประสพกับความล้มเหลวในการยิงจรวดขีปนาวุธRSM-54 SLBM ซึ่งได้นำไปสู่การที่พลเรือเอกวลาดิเมียร์ คุโรเวดอฟ ผู้บัญชาการทหารเรือถูกสั่งปลด

.. กรกฎาคม ๒๕๔๘ ระหว่างที่ทำการฝึกซ้อมเพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองวันแห่งกองทัพเรือในเซ็นต์ปี เตอร์เบอร์ก เรือดำน้ำขนาดเล็กพริซ-คลาส AS-28 ของรัสเซียประสพกับปัญหาจนกองทัพเรือสหรัฐฯกับราชนาวีของอังกฤษต้องเข้าไป ให้ความช่วยเหลือโดยได้ใช้ยานดำน้ำรีโมทคอนโทรลของราชนาวีอังกฤษเข้าไปกู้ ภัย

.. แต่แผนการที่จะสร้างอำนาจทางการทหารทางน่านน้ำขึ้นมาใหม่ของรัสเซียก็ยังคง ดำเนินต่อไป จนกระทั่งเราได้เห็นการเผชิญหน้ากันผ่านสื่อนานาชาติอันเผ็ดร้อนตั้งแต่ ประเด็นของไฟเย็น

=> ๑. โครงการนิวเคลียร์อิหร่านซึ่งรัสเซียเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างซี่งยังคั่งค้างมาเป็นเวลา๒๐ปีแล้ว
=> ๒. จูเลียน อานซาจ-วิกิลีก ซึ่งได้กลายเป็นนักเขียนคอลัมน์ให้กับสำนักข่าวกระบอกเสียงของรัฐบาลรัสเซีย
=> ๓. เอ็ดวาร์ด สโนวเด่น-อดีตเจ้าหน้าที่สัญญาจ้างพิเศษของซีไอเอ และ
=> ๔. สื่อกระบอกเสียงของรัฐบาลรัสเซียในตะวันตก(ในอเมริกา) เน้น การประโคมข่าวที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงภายในของรัฐบาลสหรัฐฯภายในขอบเขต ที่กฏหมายของอเมริกันอนุโลม ซึ่ง สหรัฐฯก็ตอบโต้ด้วยการสนับสนุนนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลรัสเซีย บางกลุ่มเป็นการตอบโต้และได้นำไปสู่การออกกฏหมายใหม่ของรัสเซียเพื่อยับยั้ง การถูกเจาะยาง
=> ๕. ประเด็นของอาวุธเคมีในซีเรีย ซี่ง จะว่าไปแล้วผิดด้วยกันทั้งคู่ อันสืบเนื่องกันเป็นเจ้าแห่งน่านน้ำ ในขณะที่ชาวซีเรียต้องตกเป็นเหยื่อของการแย่งชิงอำนาจของรัสเซียกับอเมริกัน

- เหตุการณ์ต่างๆที่ได้นำไปสู่การส่งเรือรบเข้าสู่ทะเลเมดิเตอเรเนียน : วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๑ โฆษกของรัฐบาลรัสเซียได้ประกาศว่าสภาสูงของรัสเซียจะไม่เพิกเฉยต่อการร้องขอ ต่อการเข้าไปปฏิบัติการของกองทัพเรือรัสเซียในเยเมน (สหภาพโซเวียตเคยมีฐานทัพเรืออยู่ที่เกาะโซโคตร้าของเยเมนใต้ซึ่งเป็นรัฐ คอมมิวนิสต์ก่อนที่จะรวมตัวกับเยเมนเหนือเป็นประเทศเยเมนในปีพ.ศ.๒๕๓๙)

.. วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๕ นิโคไลย์ ปาตรูเชฟ ผู้อำนายการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงของรัสเซียได้ประกาศว่ารัสเซียจะสร้าง ฐานทัพเรือในจุดต่างๆบริเวณอาร์คติคเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการของเรือรบของกอง ทัพเรือรัสเซีย

.. พ.ศ.๒๕๕๑ พลเรือโทนิโคไลย์ มัคซิมอฟ ผู้บัญชาการกองเรือเหนือ (Northern Fleet) ของรัสเซียได้ประกาศว่า ‘เราจะทำเท่าที่ทำได้ในการส่งกองกำลังกองทัพเรือเข้าไปในจุดที่สำคัญต่างๆ ของน่านน้ำโลกเพื่อการรักษาความปลอดภัยการเดินเรือของรัสเซีย’

- ลิเบีย : ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ กองเรือรัสเซีย รวมถึงเรือพิฆาตขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ปโยเตอร์ เวลิกี้ (ปีเตอร์-เดอะ-เกร๊ต) ซึ่งมุ่งหน้าไปยังเวเนซูเอล่าเพื่อการซ้อมรบได้จอดเทียบท่าเพื่อเสริมอาหาร และสัมภาระในการเดินทางที่ทาเรือเมืองทริโปลี-ลิเบีย ติดรากแหปฏิบัติการยับยั้งการขยายอำนาจของกองทัพเรือรัสเซีย และ กับการที่ลิเบียมีส่วนในการทำให้ฝรั่งเศสต้องเสียหน้าในการสูญเสียอิทธิพลใน ตูนีเซียไป ซึ่ง ทำให้ฝรั่งเศสประสพกับความสำเร็จในการขอร้องให้สหรัฐฯช่วยขับไล่อิตาลีคู่ แข่งของฝรั่งเศสออกไปจากลิเบีย ในขณะที่สหรัฐฯสามารถยับยั้งการขยายอำนาจของรัสเซียและจีนในลิเบีย

.. สิงหาคม ๒๔๕๒ สื่อของรัสเซียได้รายงานว่าเรือดำน้ำอะกูลา-คล๊าสของรัสเซียสองลำได้เข้าไป ปฏิบัติการบริเวณนอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯในโครงการ๙๗๒ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่รัสเซียได้ส่งเรือดำน้ำเข้าไปปฏิบัติการในทะเลแอ ตแลนติคนับตั้งแต่สงครามเย็นได้ยุติลงเป็นต้นมา

- อินเดีย : จากเวเนซูเอล่าเรือปีเตอร์เดอะเกร๊ตได้เดินทางไปที่อาฟกาใต้ก่อนเดินทางไป ร่วมซ้อมรบอินทรา (INDRA-2009) กับกองทัพเรือของอินเดีย ก่อนที่จะเดินทางกลับไปยังฐานทัพเรือเซเวโรมร์สกํ ในเดือนมีนายคม ๒๔๕๒

- ชายรั่วบ้านของอเมริกัน : สิงหาคม ๒๕๕๕ รายงายข่าวจากสื่อเอกชนของอเมริกันได้รายงานว่าเรือดำน้ำคลาส-อะกูลาของรัส เซียได้เข้าไปปฏิบัติการในอ่าวเม็กซิโก ซึ่ง พลเรือเอกโจนาธาน กรีเนิร์ต ผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐฯได้ยืนยันกับรัฐสภาของสหรัฐฯว่าเป็นความจริง

.. ๑๕ พฤศภาคม ๒๕๕๖ กองเรือแปซิฟิคของรัสเซียอันประกอบไปด้วยเรือพิฆาตปานตาเลเยฟ เรือยกพลขึ้นบกเปเรสเว็ตและเนเวลสกี้ เรือบรรทุกน้ำมันเปเชนก้าและฟอตีย์ กับ เรือลากจูงกรีย์ลอฟ ที่ได้ออกเดินทางจากฐานทัพเรือวลาดิว๊อสต็อคเมื่อวันที่๑๙มีนาคมได้เดินทาง เข้าสู่ทะเลเมดิเตอเรเนียน โดยได้ประกาศว่าจะเข้าไปจอดเทียบท่าที่ลิมมาสโซล-ไซปรัส ในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖

.. ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ พลเรือเอกวิคเตอร์ เชอร์คอฟ ผู้บัญชาการทหารเรือของรัสเซียได้กล่าว่าเรือบรรทุกเครื่องบินคุซเน็ตซอฟ จะออกไปปฏิบัติภารกิจหลายประการด้วยกันในบริเวณชายฝั่งโอเชียนิค เครื่องบินของเรือบรรทุกเครื่องบินดังกล่าวได้ว่างแผนที่จะซ้อมการยิงจรวด และได้กล่าว่าการปฏิบัติการดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการถาวรในทะเล เมดิเตอเรเนียน

- ซีเรีย : กันยายน ๒๕๕๑ รัสเซียและซีเรียทำการเจรจาเพื่อการพัฒนาขยายฐานทัพเรือของรัสเซียในซีเรีย เพื่อที่จะขยายปฏิบัติการของกองทัพเรียรัสเซียในทะเลเมดิเตอเรเนียน ซึ่ง เป็นขณะเดียวกันที่ความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกกับรัสเซียอยู่ในระหว่างกระทบ กระเทือนว่าด้วยกรณีของ ’สงครามออสเซเชียใต้’

อีกทั้ง กรณีของการที่สหรัฐฯจะส่งจรวดป้องกันตนเองไปติดตั้งในโปแลนด์ ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัซซาด ได้ตกลงที่จะให้รัสเซียเข้าไปขยายฐานทัพเรือทาร์ทัสเพื่อปรับให้เป็นฐานทัพ เรือถาวรของรัสเซียในตะวันออกกลางสำหรับเรือรบติดอาวุธนิวเคลียร์ รัฐบาลรัสเซียและรัฐบาลซีเรียได้ออกแถลงการณ์นี้ร่วมกันแต่สื่อของซีเรียได้ ถูกสั่งไม่ให้เสนอข่าว

.. การตัดสินใจของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อาซซาด ได้นำไปสู่ความไม่พอใจของกลุ่มประเทศในอาหรับลีกเพราะเกรงว่าจะนำไปสู่ความ ไม่สงบในตะวันออกกลาง

.. ๒๒ กันยายน ๒๕๕๑ อีกอร์ ไดย์กาโล โฆษกของกองทัพเรือรัสเซียได้กล่าวว่าเรือครูเซอร์พลังขับเคลื่อนนิวเคลียร์ ปีเตอร์ เดอะ เกรต พร้อมด้วยเรือติดตามอีกสามลำของกองเรือเหนือจากฐานทัพเรือเซเวโนมอร์สกํได้ ออกเดินทางเพื่อไปร่วมการซ้อมรบกับกองทัพเรือของเวเนซูเอล่า โดยไม่ได้กล่าวถีงการที่กองเรือดังกล่าวได้แวะไปที่ฐานทัพเรือทาร์ทัสใน ซีเรียก่อนที่จะเดินทางไปยังเวเนซูเอล่า เจ้าหน้าที่ของรัสเซียได้กล่าวว่ารัสเซียจะเข้าไปปรับปรุงฐานทัพเรือต่างๆ ที่สหภาพโซเวียตเคยมีอยู่เพื่อการเข้าไปตั้งฐานทัพประจำในทะเลเมดิเต อเรเนียน

.. วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ พล.อ. นิโคไลย์ มาคารอฟ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดรัสเซียได้กล่าวว่า การส่งเรือรบของรัสเซียไปยังทะเลเมดิเตอเรเนียนเป็นปฏิบัติการฝึกซ้อมที่ไม่ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในซีเรีย แต่เขาก็ได้กล่าวว่า ‘ในกรณีที่จะเป็นจริง เช่น การซ่อมแซมที่จำเป็น การเติมน้ำและอาหาร และการให้ลูกเรือได้พักผ่อน เรือรบของรัสเซียก็อาจจะเข้าไปที่ท่าเรือทาร์ทัส แต่กรณีนี้ไม่ได้อยู่ในการวางแผนปฏิบัติการของเรา’

.. นอกจากนี้สำนักงานข่าวอินเตอร์แฟ็กซ์ก็ยังได้รายงานว่าขนาดของเรือบรรทุก เครื่องบินแอดมิรั่ลคูซเน็ตซอฟไม่เอื้ออำนายที่จะเข้าไปจอดเทียบท่าที่ทาร์ ทัสและท่าเรือก็ไม่มีความพร้อมสำหรับการที่จะรองรับเรือที่มีขนาดใหญ่ขนาด นั้น

.. พฤศจิการยน ๒๕๕๔ สำนักงานข่าวปร๊าฟด้าและรอยเตอร์ได้รายงานข่าวว่ากองเรือของรัสเซียนำโดย เรือบรรทุกเครื่องบินคุซเน็ตซอฟ จะเดินทางไปยังฐานทัพเรือทาร์ทัส-ซีเรีย เพื่อแสดงความสนับสนุนต่อรัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อาซซาด (ทั้งๆที่วงการทหารสากลต่างรู้กันดีว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพราะท่า เทียบเรือทั้งสองแห่งของทาร์ทัสมีความยาวเพียงท่าละ๑๐๐เมตร ไม่สามารถที่จะให้เรือบรรทุกเครื่องบินคุซเน็ตซอฟเข้าไปจอดเทียบได้)

- เยเมน.?? จะเกิดอะไรขึ้นในเยเมน ??? : ต้องรอดูกันต่อไปว่ารัสเซียจะมีความเคลื่อนไหวอย่างใดในเยเมน.. ตอนนี้ต้องต่อสู้เพื่อรักษาอำนาจทางการเมืองและฐานทัพเรือในซีเรียก่อน.

- เครดิตขอบคุณบทความโดยคุณ : Bon Nirnam ..

ขอขอบคุณทางเพจ สงคราม ประวัติศาสตร์ ไว้โอกาสนี่ด้วยครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น