วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เรือเหาะ เอลเซท 129 ฮินเดนบวร์ก , LZ 129 Hindenburg

[ เรือเหาะ เอลเซท 129 ฮินเดนบวร์ก ]

ฮินเดนบวร์ก แอลแซด 129 (มีการสะกดว่า "ฮินเดนบูร์ก" และ "ฮินเดนเบิร์ก" ภาษาอังกฤษ : LZ 129 Hindenburg) เป็นเรือเหาะของเยอรมนีที่สร้างคู่กับเรือเหาะลำน้องที่ชื่อ "กราฟ เซปเปลิ 2" นับเป็นอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้าง

โดยในช่วงบินให้บริการเป็นปีที่ 2 ก็ได้เกิดไฟใหม้ระหว่างแล่นลอยตัวลงจอดที่ฐานทัพเรือเลคเฮิร์สท์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 และมีผู้เสียชีวิต 36 คน นับเป็นเหตุการณ์ที่มีการรายงานโดยสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ ภาพถ่าย และวิทยุกระจายเสียง มากที่สุด

เรือเหาะฮินเดนบวร์กได้รับการตั้งชื่อตาม "พอล ฟอน ฮินเดนบวร์ก" (พ.ศ. 2390- 2477)ประธานาธิบดีประเทศเยอรมนี ระหว่าง พ.ศ. 2468 – 2477 เป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายของเยอรมนีที่ได้เข้ารับตำแหน่งจากการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตย ก่อนที่ฮิตเลอร์จะเข้าครองอำนาจการปกครองเยอรมัน

ซึ่ง เรือเหาะฮินเดนบวร์ก สร้างโดยบริษัท “ลุฟท์ชิฟฟ์บาว เซพเพลิน?” (Luftschiffbau Zeppelin) เมื่อ พ.ศ. 2478 มีความยาว 245 เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลาง 41 เมตร ซึ่งยาวกว่าเครื่องบินโดยสาร 747 สามลำมาเรียงต่อกัน

แต่เดิมออกแบบโดยใช้ก๊าซฮีเลียมบรรจุ แต่สหรัฐฯ ห้ามส่งออกจึงต้องใช้ก๊าซไฮโดรเจนที่ซึ่งติดไฟได้ โดยต้องใช้ก๊าซบรรจุในลำตัวจำนวน 200,000 ลูกบาศก์เมตร โดยแยกบรรจุเป็น 16 ถุง สร้างแรงยกได้ 123.5 ตัน ทั้งนี้เรือเหาะพลเรือนของเยอรมันไม่เคยประสบอุบัติเหตุมาก่อน จึงไม่มีผู้เกรงกลัวเท่าใด นอกจากนี้การใช้ก๊าซไฮโดรเจนยังเพิ่มแรงยกได้มากกว่าฮีเลียมถึง 8%

อีกอย่าง เรือเหาะฮินเดนบวร์กใช้เครื่องยนต์ปรับถอยหลังขนาดเครื่องละ 1,200 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง ซึ่งทำความเร็วสูงสุดได้ 135 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยสิ้นค่าก่อสร้างในสมัยนั้นถึง 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าโดยสารจากประเทศเยอรมนีถึงเมืองเลคเฮิร์ส สหรัฐอเมริกา คนละ 400 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าแพงมากในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในขณะนั้น (ประมาณ 6,100 เหรียญฯ หรือกว่า 200,000 บาท ในปัจจุบัน)

เพื่อลดแรงฉุดห้องโดยสาร เรือเหาะฮินเดนบวร์กจึงถูกวางตัวไว้ภายในลำเรือทั้งหมด ต่างจากเรือเหาะกราฟเซบเปลิน ที่ทำเป็นแบบห้องแขวน และห้องนอนผู้โดยสารซึ่งเป็นห้องนอนขนาดเล็กจัดไว้ชั้นบนสุด ส่วนชั้นกลางรอบๆ นอกเป็นส่วนสาธารณะ เป็นห้องอาหาร ห้องเขียนหนังสือ และห้องนั่งเล่น

โดยมีหน้าต่างกระจกเอียงลาดตามลำตัวยานทั้งสองชั้น ซึ่งหวังให้ผู้โดยสารใช้เวลาส่วนใหญ่ในพื้นที่ส่วนรวมแทนห้องนอนที่มีขนาด คับแคบ อีกอย่างชั้นล่างนั้นจะเป็นห้องนักบิน รวมถึงห้องอาหาร และห้องน้ำสำหรับลูกเรือ แล้วก็ห้องสูบบุหรี่ ที่ได้มีการควบคุมการซึมของก๊าซไฮโดรเจนไว้อย่างเข้มงวด

อนึ่ง สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกภายในเรือเหาะฮินเดนบวร์ก ในสมัยนั้น ซึ่งธุรกิจการขนส่งข้ามมหาสมุทรด้วยเรือเหาะ กับ ธุรกิจการขนส่งข้ามมหาสมุทรด้วยเรือสำราญเครื่องจักรไอน้ำ ที่กำลังแข่งขันกัน ทำให้ภายในฮินเดนบวร์กจึงเต็มไปด้วยความหรูหรา มีทั้งบาร์ ห้องสูบบุหรี่ (ห้องนี้ต้องควบคุมหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะควบคุมไม่ให้แก๊สไฮโดรเจนรั่วไหลเข้าไป) เตาไฟฟ้า ห้องอ่าน เขียนหนังสือ ห้องน้ำ และห้องอาบน้ำที่มีเทคโนโลยีทันสมัย หรูหราสมเป็นพาหนะชั้นยอด

ห้องพักผู้โดยสารมี 25 ห้อง แต่ละห้องพักได้ 2 คน ไม่มีการแบ่ง FIRST CLASS, SECOND CLASS, THIRD CLASS เหมือนเรือสำราญ ทุกคนอยู่ในระดับเดียวกัน มีหน้าต่างระเบียงชมทิวทัศน์เป็นทางเดินยาว 15 เมตร 2 ฟากเรือ อาหารรสเลิศ ไวน์ชั้นเยื่ยม แต่ค่าโดยสารแพงมาก เทียบเป็นราคาปัจจุบันแล้วก็พอ ๆ กับราคารถยนต์ขนาดครอบครัวหรูๆ หนึ่งคัน ต่อหัว ต่อเที่ยว

การให้บริการในปีแรกมีขึ้นในปี พ.ศ. 2479 สรุปรวมๆ แล้ว เรือเหาะฮินเดนบวร์กนั้นเดินทางรวม 308,323 กิโลเมตร รับส่งผู้โดยสาร 2,798 คน ขนสินค้า 160 ตัน เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก 17 เที่ยว ซึ่งมี 10 เที่ยวไปสหรัฐ และ 7 เที่ยวไปบราซิล

และในเดือนกรกฎาคมปีนั้น ยังทำลายสถิติเดินทางข้ามไปกลับมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยเวลาเพียง 5 วัน 19 ชั่วโมง และ 51 นาที ที่สำคัญมี "แม็ก ชเมลิง" ได้เดินทางกลับพร้อมด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในวงการมวยโลกเป็นวีรบุรุษเยอรมัน จากการชนะการน็อคเอาท์โจ หลุยส์ในสหรัฐฯ ในเที่ยวนี้ด้วย

การให้บริการปีแรกนี้ มีการนำเปียโนอะลูมิเนียมขึ้นไปบรรเลงให้ความบันเทิงผู้โดยสารด้วย “คอนเสิร์ทกลางเวหา” แต่สุดท้ายก็ต้องถูกยกเลิก เพื่อลดน้ำหนัก และเรื่องของความสำเร็จดังกล่าวทำให้บริษัท “ลุฟท์ชิฟฟ์บาว เซพเพลิน” ได้วางแผนเพิ่มการผลิต และการให้บริการข้ามมหาสมุทรให้เพิ่มขึ้น

ต่อมาระหว่างฤดูหนาวปี พ.ศ. 2479-2480 ได้มีการปรับปรุงเรือเหาะอีกหลายส่วน ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้อีก 10 คน รวมเป็น 72 คน

ที่สุดแล้ว การเดินทางเที่ยวสุดท้ายของฮินเดนบวร์ก คือ เที่ยวที่ 18 จากเมืองฟรังค์ฟูร์ทอัมไมน์ ประเทศเยอรมนี มุ่งหน้าไปสู่ รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังจะถึงอเมริกาในวันที่ 6 พฤษภาคม 1937 ตอนเวลา 6 นาฬิกาตรง แต่อากาศเลวร้าย ลมแรงมาก ฮินเดนบวร์กต้องฝ่าลมแรงไปทำให้ถึงจุดหมายล่าช้าไป 12 ชั่วโมง แต่ฮินเดนบวร์กก็ไม่สั่นสะเทือนแม้แต่น้อย

และต่อมา เรือเหาะฮินเดนบวร์กก็ได้ออกเดินทางจากฟรังค์ฟูร์ทอัมไมน์ในคืนของวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เพื่อเดินทางมุ่งหน้าไปที่เลคเฮิร์ทส์ นิวเจอร์ซีย์ และการเดินทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีกระแสลมแรงต้านอยู่บ้าง อีกทั้งผู้โดยสารมีเพียงครึ่งลำ คือ 36 คน และมีลูกเรืออีก 61 คน

แต่ในเที่ยวกลับได้รับการจองที่นั่งเต็มลำ และเรือเหาะฮินเดนบวร์กเดินทางกลับถึงอเมริกาในวันที่ 6 พฤษภาคม ซึ่งได้ล่าช้ามากกว่าปกติ นอกจากนี้ยังล่าช้ามากขึ้นจากการแปรปรวนของอากาศที่ท่าจอด กัปตันเรือ “แมกซ์ พรุสส์” จึงได้พาผู้โดยสารยินชมนครนิวยอร์ก ชายฝั่งบอสตัน และนิวเจอร์ซีย์ นั้นเสีย

ซึ่งเมื่ออากาศได้เริ่มดีขึ้น เรือเหาะฮินเดนบวร์กจึงได้มุ่งเข้าเทียบฐานจอดเลคเฮิร์ทเมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. ที่ความสูง 215 เมตร การลงจอดที่เลคเฮิร์ทเป็นการจอดวิธิใหม่โดยมาหยุดในที่สูง แล้วหย่อนเชือกลงมาให้เครื่องกว้านบนหอคอยทำงานแทนคนจำนวนมาก แต่วิธีนี้ต้องใช้เวลามากกว่า เพราะต้องมีความแม่นยำนั่นเอง

ต่อมา เวลา 19.08 น. เรือเหาะลำนี้แล่นเลี้ยวซ้ายด้วยความเร็วเต็มที่จนมาถึงจุดเทียบ และกัปตันก็ได้เบาเครื่องยนต์ และเปิดวาล์วก๊าซ เพื่อให้เรือหยุดตัวเมื่อตอนเวลา 19.14 น. ในที่ความสูง 120 เมตร กัปตันสั่งให้เดินเครื่องถอยหลังเต็มที่ เพื่อให้เรือเหาะหยุดเมื่อเวลา 19.19 น. รวมถึงมีการทิ้งถุงน้ำถ่วงน้ำหนัก 3 ถุง คือ 300, 300 และ 500 กิโลกรัม

ทั้งนี้ก็เพื่อทำเรือเหาะให้บินได้แนวระนาบ และให้ลูกเรือ 6 คนมาถ่วงน้ำหนักอยู่ทางหัวเรือ (เสียชีวิตหมดทุกคน) แต่ในความพยายามทั้งหมดก็ไม่เป็นผล

อย่างไรก็ตาม กัปตันพรุสส์ก็ได้รับอนุญาตให้ทำการลงจอดได้ เมื่อเวลา 19.21 น. ที่ระดับความสูง 90 เมตร โดยมีการทิ้งเชือกผูกฐานจอดที่กำลังจะเกิดขึ้น

เมื่อเวลา 19.25 น. พยานที่เห็นเหตุการณ์รายงานว่า ได้มีเปลวไฟพวยพุ่งออกมาใกล้ท่อระบายด้านหน้าของครีบบน

ความหายนะ ณ เวลา 19.12 น. เรือเหาะฮินเดนบวร์กติดไฟและลุกเป็นไฟก้อนใหญ่อย่างรวดเร็วโดยไม่ระเบิด อย่างที่ทุกคนคาดกันไว้ ไฟเริ่มลุกใหม้ที่ถุง 4 แล้วลามอย่างรวดเร็วมาทางส่วนหน้า ส่วนหลังบนของยานหัก

โดยยานยังคงรูปแต่เงยส่วนหน้าขึ้น ขณะที่ส่วนหางตกกระแทกพื้นดินก็มีเปลวไฟประทุพุ่งออกทางส่วนหัวเรือ ทำให้ลูกเรือทั้ง 6 คน เสียชีวิต

ทั้งนี้ เนื่องจากส่วนหัวของยานยังคงมีก๊าซ หัวเรือจึงยังคงเชิดอยู่ เมื่อส่วนที่เป็นที่ตั้งเครื่องยนต์และส่วนห้องโดยสารด้านหลังจึงหลุบเข้าไป ในตัวหัวเกิดเพลิงลุกใหม้เพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เมื่อล้อห้องโดยสารกระแทกพื้น เรือเหาะฮินเดนบวร์กได้กระดอนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ผ้าหุ้มตัวเรือลุกไหม้เรือเหาะฮินเดนบวร์กทั้งลำจึงตกลงสู่พื้นทั้ง หมดโดยเอาด้านหัวลงก่อน

ประวัติศาสตร์แห่งการรายงานข่าวด้วยภาพยนตร์ความหายนะครั้งนี้ได้รับการ บันทึกไว้อย่างละเอียดมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ ทั้งข่าวที่เป็นการถ่ายภาพยนตร์ ภาพนิ่งและการรายงานสดทางวิทยุกระจายเสียง เป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายภาพเหตุการณ์สดๆ ด้วยภาพยนตร์ “เฮอร์เบิร์ต มอร์ริสัน” กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากการถ่ายภาพและอัดเสียงภาพยนตร์ข่าวอันน่า ตื่นเต้นในครั้งนี้

โดยความเป็นจริงแล้วเรือเหาะกราฟ เซบเปลินของยเอรมันไม่เคยประสบอุบัติเหตุใดๆ มาก่อนเหตุการณ์ครั้งนี้เลย จะมีก็เป็นของผู้ผลิตอื่นของประเทศอื่น เซบเปลินเดินทางมาแล้ว 1. 6 ล้านกิโลเมตร รวมทั้งการเดินทางรอบโลกเป็นผลสำเร็จ บริษัท “ลุฟท์ชิฟฟ์บาว เซพเพลิน?” มีความภาคภูมิใจที่ไม่เคยมีผู้โดยสารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว

การายงานข่าวที่น่าตระหนกมีผลให้คนหมดความเชื่อมั่นในการเดินทางด้วยเรือ เหาะและหันไปโดยสารเครื่องบินที่แม้จะอึดอัดคับแคบกว่าแต่ก็เร็วกว่ามากยิ่ง ขึ้น ทำให้บริษัทการบินแพนอเมริกันของสหรัฐฯ สามารถเปิดบริการธุรกิจบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้เป็นประจำ

ในสมัยนั้น เทคโนโลยีการสืบสวนหาหายนะซึ่งยังไม่ดีนัก การสืบสวนในสมัยนั้นจึงไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ เมื่อนักวิชาการยุคปัจจุบันจะมาสืบสวน สิ่งที่มีให้สืบสวนก็มีเพียง หลักฐานแสดงคำบอกเล่าของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ฟิล์มวิดีโอบันทึกเหตุการณ์ การสืบสวนดำเนินไปนานพอสมควร

และแล้วก็ได้ข้อสรุปที่แน่นอนว่า การใช้ผ้าลินินในการห่อหุ้มเรือเหาะฮินเดนบวร์กทั้งลำนั้น ระหว่างการเดินทางจะเกิดการเสียดสีกับอากาศ ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต การเสียดสีเกิดขึ้นตลอดเส้นทางจนกลายเป็นไฟฟ้ามหาศาล สถิตอยู่ในผ้าลินิน และลวดภายในเรือ เมื่อเดินทางมาถึงและเตรียมลงจอดนั้น เกิดมีลมเปลี่ยนทิศ ถ้าหากจะจอดดีๆ ต้องอ้อมสนามบินไปลงจอด

แต่ในขณะนั้น ฮินเดนบวร์ก เดินทางมาถึงล่าช้าไปแล้ว 6 ชม. กัปตันตัดสินใจเลี้ยวเรือเหาะ โดยตีวงเลี้ยวแคบมากๆ ซึ่งฮินเดนบวร์กไม่ได้ออกแบบให้มีวงเลี้ยวแคบขนาดนั้น และเรื่องลวดเส้นหนึ่งทนแรงเหวี่ยงจากการเลี้ยวไม่ไหวจึงขาดและสะบัดไป อีกอย่างคือการโดนถุงแก๊สไฮโดรเจน ทำให้แก๊สรั่วออกมา

ซึ่งในขณะที่ ฮินเดนบวร์กปล่อยเชือกลงมายังพื้นดิน เพื่อให้ภาคพื้นดินดึงเรือเหาะลงไป ได้มีไฟฟ้าสถิตในเรือเหาะนั้น ถูกส่งผ่านสายเชือกลงมายังพื้นดิน ลวดสามารถนำไฟฟ้าผ่านไปยังเชือก และนำลงสู่พื้นดินได้อย่างรวดเร็ว

แต่ผ้าลินินไม่นำไฟฟ้าดีนัก ไฟฟ้าจึงเดินทางออกไปได้ช้ากว่า ไม่นานก็เกิดเป็นความต่างศักย์ของไฟฟ้าภายในเรือเหาะ และในที่สุดเมื่อมีความต่างศักย์ระหว่างผ้าลินินกับลวดนั้นสูงมากพอ ก็สามารถเกิดกระแสไฟฟ้าที่มองเห็นได้ (คล้ายๆกับฟ้าผ่า) และเดินทางจากผ้าลินินไปที่ลวด การเดินทางของไฟฟ้านี้ทำให้มีอุณหภูมิสูงพอที่จะทำให้แก๊สไฮโดรเจนที่รั่ว ออกมาอยู่แล้วนั้น เกิดการติดไฟ และแล้วฮินเดนบวร์กก็พบจุดจบ

ผู้โดยสารและลูกเรือส่วนใหญ่รอดชีวิต จากจำนวนผู้โดยสาร 36 คน และลูกเรือ 61 คน มีผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้โดยสาร 13 คน ลูกเรือ 22 คน มีลูกเรือภาคพื้นดินเสียชีวิตด้วย 1 คน การเสียชีวิตเกือบทั้งหมดมิได้เกิดจากไฟแต่เป็นการกระโดดจากที่สูง ผู้โดยสารที่อยู่กับห้องโดยสารปลอดภัยทั้งหมด เนื่องจากเปลวไฟที่ร้อนจัดพัดขึ้นเบื้องสูง และลูกเรือที่ตายมาก เนื่องจากพยายามเข้าไปช่วยผู้โดยสารที่อยู่ในห้องโดยสาร หรือที่โดดลงมาก่อน

สาเหตุการลุกไหม้ ในยุคที่ยังไม่ทราบสาเหตุอันแท้จริง แต่ต่อมาสาเหตุการลุกใหม้ของเรือเหาะฮินเดนบวร์กได้ถูกเล่าลือไปในด้านต่างๆ มากมาย ซึ่งอาจสรุปโดยสังเขปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
- ทฤษฎีการก่อการร้าย
- ทฤษฎีการประทุจากไฟฟ้าสถิตย์
- ทฤษฎีฟ้าผ่า
- ทฤษฎีต้นตอของเชื้อเพลิงจากกระแสไฟฟ้า
- ทฤษฎีสีที่ท่าทาเป็นเชื้อประทุเอง
- ทฤษฎีไฮโดรเจน
- นอกจากนี้ยังมีสมมุติฐานอีกมากมายเป็นต้นว่า
- ความวิบัติทางโครงสร้างของตัวยาน
- ทฤษฎีการทะลุ
- การรั่วไหลของเชื้อเพลิง
- มีการฆ่าตัวตายด้วยปืน เพราะพบรอยกระสุน
- การเดินเครื่องถอยหลัง ฯลฯ เป็นต้น

<ภาพ> : เรือเหาะฮินเดนบวร์กขณะเริ่มติดไฟได้ครู่หนึ่ง
 

ขอขอบคุณทางเพจ สงคราม ประวัติศาสตร์ ไว้โอกาสนี้ด้วยครับ :D

รูปภาพ : [ เรือเหาะ เอลเซท 129 ฮินเดนบวร์ก ]

ฮินเดนบวร์ก แอลแซด 129 (มีการสะกดว่า "ฮินเดนบูร์ก" และ "ฮินเดนเบิร์ก" ภาษาอังกฤษ : LZ 129 Hindenburg) เป็นเรือเหาะของเยอรมนีที่สร้างคู่กับเรือเหาะลำน้องที่ชื่อ "กราฟ เซปเปลิ 2" นับเป็นอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้าง

โดยในช่วงบินให้บริการเป็นปีที่ 2 ก็ได้เกิดไฟใหม้ระหว่างแล่นลอยตัวลงจอดที่ฐานทัพเรือเลคเฮิร์สท์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 และมีผู้เสียชีวิต 36 คน นับเป็นเหตุการณ์ที่มีการรายงานโดยสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ ภาพถ่าย และวิทยุกระจายเสียง มากที่สุด

เรือเหาะฮินเดนบวร์กได้รับการตั้งชื่อตาม "พอล ฟอน ฮินเดนบวร์ก" (พ.ศ. 2390- 2477)ประธานาธิบดีประเทศเยอรมนี ระหว่าง พ.ศ. 2468 – 2477 เป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายของเยอรมนีที่ได้เข้ารับตำแหน่งจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ก่อนที่ฮิตเลอร์จะเข้าครองอำนาจการปกครองเยอรมัน

ซึ่ง เรือเหาะฮินเดนบวร์ก สร้างโดยบริษัท “ลุฟท์ชิฟฟ์บาว เซพเพลิน?” (Luftschiffbau Zeppelin) เมื่อ พ.ศ. 2478 มีความยาว 245 เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลาง 41 เมตร ซึ่งยาวกว่าเครื่องบินโดยสาร 747 สามลำมาเรียงต่อกัน 

แต่เดิมออกแบบโดยใช้ก๊าซฮีเลียมบรรจุ แต่สหรัฐฯ ห้ามส่งออกจึงต้องใช้ก๊าซไฮโดรเจนที่ซึ่งติดไฟได้ โดยต้องใช้ก๊าซบรรจุในลำตัวจำนวน 200,000 ลูกบาศก์เมตร โดยแยกบรรจุเป็น 16 ถุง สร้างแรงยกได้ 123.5 ตัน ทั้งนี้เรือเหาะพลเรือนของเยอรมันไม่เคยประสบอุบัติเหตุมาก่อน จึงไม่มีผู้เกรงกลัวเท่าใด นอกจากนี้การใช้ก๊าซไฮโดรเจนยังเพิ่มแรงยกได้มากกว่าฮีเลียมถึง 8%

อีกอย่าง เรือเหาะฮินเดนบวร์กใช้เครื่องยนต์ปรับถอยหลังขนาดเครื่องละ 1,200 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง ซึ่งทำความเร็วสูงสุดได้ 135 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยสิ้นค่าก่อสร้างในสมัยนั้นถึง 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าโดยสารจากประเทศเยอรมนีถึงเมืองเลคเฮิร์ส สหรัฐอเมริกา คนละ 400 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าแพงมากในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในขณะนั้น (ประมาณ 6,100 เหรียญฯ หรือกว่า 200,000 บาท ในปัจจุบัน)

เพื่อลดแรงฉุดห้องโดยสาร เรือเหาะฮินเดนบวร์กจึงถูกวางตัวไว้ภายในลำเรือทั้งหมด ต่างจากเรือเหาะกราฟเซบเปลิน ที่ทำเป็นแบบห้องแขวน และห้องนอนผู้โดยสารซึ่งเป็นห้องนอนขนาดเล็กจัดไว้ชั้นบนสุด ส่วนชั้นกลางรอบๆ นอกเป็นส่วนสาธารณะ เป็นห้องอาหาร ห้องเขียนหนังสือ และห้องนั่งเล่น 

โดยมีหน้าต่างกระจกเอียงลาดตามลำตัวยานทั้งสองชั้น ซึ่งหวังให้ผู้โดยสารใช้เวลาส่วนใหญ่ในพื้นที่ส่วนรวมแทนห้องนอนที่มีขนาดคับแคบ อีกอย่างชั้นล่างนั้นจะเป็นห้องนักบิน รวมถึงห้องอาหาร และห้องน้ำสำหรับลูกเรือ แล้วก็ห้องสูบบุหรี่ ที่ได้มีการควบคุมการซึมของก๊าซไฮโดรเจนไว้อย่างเข้มงวด

อนึ่ง สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกภายในเรือเหาะฮินเดนบวร์ก ในสมัยนั้น ซึ่งธุรกิจการขนส่งข้ามมหาสมุทรด้วยเรือเหาะ กับ ธุรกิจการขนส่งข้ามมหาสมุทรด้วยเรือสำราญเครื่องจักรไอน้ำ ที่กำลังแข่งขันกัน ทำให้ภายในฮินเดนบวร์กจึงเต็มไปด้วยความหรูหรา มีทั้งบาร์ ห้องสูบบุหรี่ (ห้องนี้ต้องควบคุมหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะควบคุมไม่ให้แก๊สไฮโดรเจนรั่วไหลเข้าไป) เตาไฟฟ้า ห้องอ่าน เขียนหนังสือ ห้องน้ำ และห้องอาบน้ำที่มีเทคโนโลยีทันสมัย หรูหราสมเป็นพาหนะชั้นยอด 

ห้องพักผู้โดยสารมี 25 ห้อง แต่ละห้องพักได้ 2 คน ไม่มีการแบ่ง FIRST CLASS, SECOND CLASS, THIRD CLASS เหมือนเรือสำราญ ทุกคนอยู่ในระดับเดียวกัน มีหน้าต่างระเบียงชมทิวทัศน์เป็นทางเดินยาว 15 เมตร 2 ฟากเรือ อาหารรสเลิศ ไวน์ชั้นเยื่ยม แต่ค่าโดยสารแพงมาก เทียบเป็นราคาปัจจุบันแล้วก็พอ ๆ กับราคารถยนต์ขนาดครอบครัวหรูๆ หนึ่งคัน ต่อหัว ต่อเที่ยว

การให้บริการในปีแรกมีขึ้นในปี พ.ศ. 2479 สรุปรวมๆ แล้ว เรือเหาะฮินเดนบวร์กนั้นเดินทางรวม 308,323 กิโลเมตร รับส่งผู้โดยสาร 2,798 คน ขนสินค้า 160 ตัน เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก 17 เที่ยว ซึ่งมี 10 เที่ยวไปสหรัฐ และ 7 เที่ยวไปบราซิล 

และในเดือนกรกฎาคมปีนั้น ยังทำลายสถิติเดินทางข้ามไปกลับมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยเวลาเพียง 5 วัน 19 ชั่วโมง และ 51 นาที ที่สำคัญมี "แม็ก ชเมลิง" ได้เดินทางกลับพร้อมด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในวงการมวยโลกเป็นวีรบุรุษเยอรมันจากการชนะการน็อคเอาท์โจ หลุยส์ในสหรัฐฯ ในเที่ยวนี้ด้วย

การให้บริการปีแรกนี้ มีการนำเปียโนอะลูมิเนียมขึ้นไปบรรเลงให้ความบันเทิงผู้โดยสารด้วย “คอนเสิร์ทกลางเวหา” แต่สุดท้ายก็ต้องถูกยกเลิก เพื่อลดน้ำหนัก และเรื่องของความสำเร็จดังกล่าวทำให้บริษัท “ลุฟท์ชิฟฟ์บาว เซพเพลิน” ได้วางแผนเพิ่มการผลิต และการให้บริการข้ามมหาสมุทรให้เพิ่มขึ้น

ต่อมาระหว่างฤดูหนาวปี พ.ศ. 2479-2480 ได้มีการปรับปรุงเรือเหาะอีกหลายส่วน ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้อีก 10 คน รวมเป็น 72 คน

ที่สุดแล้ว การเดินทางเที่ยวสุดท้ายของฮินเดนบวร์ก คือ เที่ยวที่ 18 จากเมืองฟรังค์ฟูร์ทอัมไมน์ ประเทศเยอรมนี มุ่งหน้าไปสู่ รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังจะถึงอเมริกาในวันที่ 6 พฤษภาคม 1937 ตอนเวลา 6 นาฬิกาตรง แต่อากาศเลวร้าย ลมแรงมาก ฮินเดนบวร์กต้องฝ่าลมแรงไปทำให้ถึงจุดหมายล่าช้าไป 12 ชั่วโมง แต่ฮินเดนบวร์กก็ไม่สั่นสะเทือนแม้แต่น้อย

และต่อมา เรือเหาะฮินเดนบวร์กก็ได้ออกเดินทางจากฟรังค์ฟูร์ทอัมไมน์ในคืนของวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เพื่อเดินทางมุ่งหน้าไปที่เลคเฮิร์ทส์ นิวเจอร์ซีย์ และการเดินทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีกระแสลมแรงต้านอยู่บ้าง อีกทั้งผู้โดยสารมีเพียงครึ่งลำ คือ 36 คน และมีลูกเรืออีก 61 คน 

แต่ในเที่ยวกลับได้รับการจองที่นั่งเต็มลำ และเรือเหาะฮินเดนบวร์กเดินทางกลับถึงอเมริกาในวันที่ 6 พฤษภาคม ซึ่งได้ล่าช้ามากกว่าปกติ นอกจากนี้ยังล่าช้ามากขึ้นจากการแปรปรวนของอากาศที่ท่าจอด กัปตันเรือ “แมกซ์ พรุสส์” จึงได้พาผู้โดยสารยินชมนครนิวยอร์ก ชายฝั่งบอสตัน และนิวเจอร์ซีย์ นั้นเสีย

ซึ่งเมื่ออากาศได้เริ่มดีขึ้น เรือเหาะฮินเดนบวร์กจึงได้มุ่งเข้าเทียบฐานจอดเลคเฮิร์ทเมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. ที่ความสูง 215 เมตร การลงจอดที่เลคเฮิร์ทเป็นการจอดวิธิใหม่โดยมาหยุดในที่สูง แล้วหย่อนเชือกลงมาให้เครื่องกว้านบนหอคอยทำงานแทนคนจำนวนมาก แต่วิธีนี้ต้องใช้เวลามากกว่า เพราะต้องมีความแม่นยำนั่นเอง

ต่อมา เวลา 19.08 น. เรือเหาะลำนี้แล่นเลี้ยวซ้ายด้วยความเร็วเต็มที่จนมาถึงจุดเทียบ และกัปตันก็ได้เบาเครื่องยนต์ และเปิดวาล์วก๊าซ เพื่อให้เรือหยุดตัวเมื่อตอนเวลา 19.14 น. ในที่ความสูง 120 เมตร กัปตันสั่งให้เดินเครื่องถอยหลังเต็มที่ เพื่อให้เรือเหาะหยุดเมื่อเวลา 19.19 น. รวมถึงมีการทิ้งถุงน้ำถ่วงน้ำหนัก 3 ถุง คือ 300, 300 และ 500 กิโลกรัม 

ทั้งนี้ก็เพื่อทำเรือเหาะให้บินได้แนวระนาบ และให้ลูกเรือ 6 คนมาถ่วงน้ำหนักอยู่ทางหัวเรือ (เสียชีวิตหมดทุกคน) แต่ในความพยายามทั้งหมดก็ไม่เป็นผล 

อย่างไรก็ตาม กัปตันพรุสส์ก็ได้รับอนุญาตให้ทำการลงจอดได้ เมื่อเวลา 19.21 น. ที่ระดับความสูง 90 เมตร โดยมีการทิ้งเชือกผูกฐานจอดที่กำลังจะเกิดขึ้น

เมื่อเวลา 19.25 น. พยานที่เห็นเหตุการณ์รายงานว่า ได้มีเปลวไฟพวยพุ่งออกมาใกล้ท่อระบายด้านหน้าของครีบบน

ความหายนะ ณ เวลา 19.12 น. เรือเหาะฮินเดนบวร์กติดไฟและลุกเป็นไฟก้อนใหญ่อย่างรวดเร็วโดยไม่ระเบิดอย่างที่ทุกคนคาดกันไว้ ไฟเริ่มลุกใหม้ที่ถุง 4 แล้วลามอย่างรวดเร็วมาทางส่วนหน้า ส่วนหลังบนของยานหัก 

โดยยานยังคงรูปแต่เงยส่วนหน้าขึ้น ขณะที่ส่วนหางตกกระแทกพื้นดินก็มีเปลวไฟประทุพุ่งออกทางส่วนหัวเรือ ทำให้ลูกเรือทั้ง 6 คน เสียชีวิต 

ทั้งนี้ เนื่องจากส่วนหัวของยานยังคงมีก๊าซ หัวเรือจึงยังคงเชิดอยู่ เมื่อส่วนที่เป็นที่ตั้งเครื่องยนต์และส่วนห้องโดยสารด้านหลังจึงหลุบเข้าไปในตัวหัวเกิดเพลิงลุกใหม้เพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เมื่อล้อห้องโดยสารกระแทกพื้น เรือเหาะฮินเดนบวร์กได้กระดอนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ผ้าหุ้มตัวเรือลุกไหม้เรือเหาะฮินเดนบวร์กทั้งลำจึงตกลงสู่พื้นทั้งหมดโดยเอาด้านหัวลงก่อน

ประวัติศาสตร์แห่งการรายงานข่าวด้วยภาพยนตร์ความหายนะครั้งนี้ได้รับการบันทึกไว้อย่างละเอียดมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ ทั้งข่าวที่เป็นการถ่ายภาพยนตร์ ภาพนิ่งและการรายงานสดทางวิทยุกระจายเสียง เป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายภาพเหตุการณ์สดๆ ด้วยภาพยนตร์ “เฮอร์เบิร์ต มอร์ริสัน” กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากการถ่ายภาพและอัดเสียงภาพยนตร์ข่าวอันน่าตื่นเต้นในครั้งนี้

โดยความเป็นจริงแล้วเรือเหาะกราฟ เซบเปลินของยเอรมันไม่เคยประสบอุบัติเหตุใดๆ มาก่อนเหตุการณ์ครั้งนี้เลย จะมีก็เป็นของผู้ผลิตอื่นของประเทศอื่น เซบเปลินเดินทางมาแล้ว 1. 6 ล้านกิโลเมตร รวมทั้งการเดินทางรอบโลกเป็นผลสำเร็จ บริษัท “ลุฟท์ชิฟฟ์บาว เซพเพลิน?” มีความภาคภูมิใจที่ไม่เคยมีผู้โดยสารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว

การายงานข่าวที่น่าตระหนกมีผลให้คนหมดความเชื่อมั่นในการเดินทางด้วยเรือเหาะและหันไปโดยสารเครื่องบินที่แม้จะอึดอัดคับแคบกว่าแต่ก็เร็วกว่ามากยิ่งขึ้น ทำให้บริษัทการบินแพนอเมริกันของสหรัฐฯ สามารถเปิดบริการธุรกิจบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้เป็นประจำ

ในสมัยนั้น เทคโนโลยีการสืบสวนหาหายนะซึ่งยังไม่ดีนัก การสืบสวนในสมัยนั้นจึงไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ เมื่อนักวิชาการยุคปัจจุบันจะมาสืบสวน สิ่งที่มีให้สืบสวนก็มีเพียง หลักฐานแสดงคำบอกเล่าของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ฟิล์มวิดีโอบันทึกเหตุการณ์ การสืบสวนดำเนินไปนานพอสมควร 

และแล้วก็ได้ข้อสรุปที่แน่นอนว่า การใช้ผ้าลินินในการห่อหุ้มเรือเหาะฮินเดนบวร์กทั้งลำนั้น ระหว่างการเดินทางจะเกิดการเสียดสีกับอากาศ ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต การเสียดสีเกิดขึ้นตลอดเส้นทางจนกลายเป็นไฟฟ้ามหาศาล สถิตอยู่ในผ้าลินิน และลวดภายในเรือ เมื่อเดินทางมาถึงและเตรียมลงจอดนั้น เกิดมีลมเปลี่ยนทิศ ถ้าหากจะจอดดีๆ ต้องอ้อมสนามบินไปลงจอด 

แต่ในขณะนั้น ฮินเดนบวร์ก เดินทางมาถึงล่าช้าไปแล้ว 6 ชม. กัปตันตัดสินใจเลี้ยวเรือเหาะ โดยตีวงเลี้ยวแคบมากๆ ซึ่งฮินเดนบวร์กไม่ได้ออกแบบให้มีวงเลี้ยวแคบขนาดนั้น และเรื่องลวดเส้นหนึ่งทนแรงเหวี่ยงจากการเลี้ยวไม่ไหวจึงขาดและสะบัดไป อีกอย่างคือการโดนถุงแก๊สไฮโดรเจน ทำให้แก๊สรั่วออกมา 

ซึ่งในขณะที่ ฮินเดนบวร์กปล่อยเชือกลงมายังพื้นดิน เพื่อให้ภาคพื้นดินดึงเรือเหาะลงไป ได้มีไฟฟ้าสถิตในเรือเหาะนั้น ถูกส่งผ่านสายเชือกลงมายังพื้นดิน ลวดสามารถนำไฟฟ้าผ่านไปยังเชือก และนำลงสู่พื้นดินได้อย่างรวดเร็ว 

แต่ผ้าลินินไม่นำไฟฟ้าดีนัก ไฟฟ้าจึงเดินทางออกไปได้ช้ากว่า ไม่นานก็เกิดเป็นความต่างศักย์ของไฟฟ้าภายในเรือเหาะ และในที่สุดเมื่อมีความต่างศักย์ระหว่างผ้าลินินกับลวดนั้นสูงมากพอ ก็สามารถเกิดกระแสไฟฟ้าที่มองเห็นได้ (คล้ายๆกับฟ้าผ่า) และเดินทางจากผ้าลินินไปที่ลวด การเดินทางของไฟฟ้านี้ทำให้มีอุณหภูมิสูงพอที่จะทำให้แก๊สไฮโดรเจนที่รั่วออกมาอยู่แล้วนั้น เกิดการติดไฟ และแล้วฮินเดนบวร์กก็พบจุดจบ

ผู้โดยสารและลูกเรือส่วนใหญ่รอดชีวิต จากจำนวนผู้โดยสาร 36 คน และลูกเรือ 61 คน มีผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้โดยสาร 13 คน ลูกเรือ 22 คน มีลูกเรือภาคพื้นดินเสียชีวิตด้วย 1 คน การเสียชีวิตเกือบทั้งหมดมิได้เกิดจากไฟแต่เป็นการกระโดดจากที่สูง ผู้โดยสารที่อยู่กับห้องโดยสารปลอดภัยทั้งหมด เนื่องจากเปลวไฟที่ร้อนจัดพัดขึ้นเบื้องสูง และลูกเรือที่ตายมาก เนื่องจากพยายามเข้าไปช่วยผู้โดยสารที่อยู่ในห้องโดยสาร หรือที่โดดลงมาก่อน

สาเหตุการลุกไหม้ ในยุคที่ยังไม่ทราบสาเหตุอันแท้จริง แต่ต่อมาสาเหตุการลุกใหม้ของเรือเหาะฮินเดนบวร์กได้ถูกเล่าลือไปในด้านต่างๆ มากมาย ซึ่งอาจสรุปโดยสังเขปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
- ทฤษฎีการก่อการร้าย
- ทฤษฎีการประทุจากไฟฟ้าสถิตย์
- ทฤษฎีฟ้าผ่า
- ทฤษฎีต้นตอของเชื้อเพลิงจากกระแสไฟฟ้า
- ทฤษฎีสีที่ท่าทาเป็นเชื้อประทุเอง
- ทฤษฎีไฮโดรเจน
- นอกจากนี้ยังมีสมมุติฐานอีกมากมายเป็นต้นว่า
- ความวิบัติทางโครงสร้างของตัวยาน
- ทฤษฎีการทะลุ
- การรั่วไหลของเชื้อเพลิง
- มีการฆ่าตัวตายด้วยปืน เพราะพบรอยกระสุน
- การเดินเครื่องถอยหลัง ฯลฯ เป็นต้น

<ภาพ> : เรือเหาะฮินเดนบวร์กขณะเริ่มติดไฟได้ครู่หนึ่ง
- ข้อมูลจาก.. th.wikipedia...@//แอดมินกอล์ฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น