วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

'' วีรกรรม เรือหลวง สมุย ''


[วีรกรรม ร.ล.สมุย (ลำที่ ๑)..ที่ถูกจมบริเวณใกล้กับเกาะโลซิน]

สำหรับเกาะเล็กที่สุดในประเทศไทย ที่ทั้งมีประวัติที่น่าสนใจ และสำรวจครั้งล่าสุดพบเรือดำน้ำ และเรือในสมัยสงครามโลกอีกหลายลำในบริเวณเกาะโลซินนี้ และกำลังสำรวจเพื่อทเป็นแผ่นที่ท่องเที่ยว และอุทยานประวัติศาสตร์ทางทะเลแห่งที่ 2 ของโลกกันอยู่ เรือที่ค้นพบในบริเวณนนี้และกำลังทำการสำรวจอยู๋เช่น

- 1. เรือรบไทยชื่อ เรือหลวงสมุย ได้ถูกเรือดำน้ำของสหรัฐฯ ถล่มจมขณะลำเลียงน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากประเทศสิงคโปร์ มีลูกเรือเสียชีวิตถึง 60 นาย
- 2.ประจัญบานของประเทศอังกฤษ ชื่อ เรือ HMS. Prince of wases
- 3.เรือ HMS. Repulse ถูกเครื่องบินของญี่ปุ่นถล่มจมใต้ทะเล เมื่อปี 1941 เพราะได้เข้ามาสกัดกั้นการยกพลขึ้นบกทางด้านแหลมมาลายูของทหารญี่ปุ่น

4.เรือดำน้ำสหรัฐ ลากัสโต้ USS LAGARTO (SS-371)

- และกำลังสำรวจเรือลำอื่นๆ อีก..

โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2484 - 2488 กองทัพเรือได้ทำหน้าที่รักษาเส้นทางลำเลียงในน่านน้ำไทยทำการกวาดทุ่นระเบิด และในเหตุการณ์ครั้งนี้ ร.ล.สมุย ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงจากสิงคโปร์เข้าสู่ประเทศ ไทย เพื่อบรรเทาความขาดแคลนภายในประเทศ ร.ล.สมุย ปฏิบัติภารกิจสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ด้วยความสามารถของ ผบ.เรือ และทหารประจำเรือหลายครั้งต้องหลบหลีกการโจมตีจากข้าศึกแต่ก็สามารถผ่านพ้น ไปได้ถึง 17 ครั้ง

จนกระทั้งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นเที่ยวสุดท้าย ขณะที่ ร.ล.สมุย ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงกลับ วันที่17 มี.ค.2488 เวลา 0245 บริเวณด้านตะวันออกของเกาะคาปัส ประเทศไทยต้องสูญเสีย ร.ล.สมุย พร้อมด้วยลูกเรือบางส่วนไปโดยถูกตอร์ปิโดถึง 2 ลูกซ้อนจากเรือดำน้ำข้าศึก ระเบิดไฟไหม้หัวเรือจมดิ่งสู่ก้นทะเลเหลือผู้รอดชีวิต 17 นาย เสียชีวิตไป 31 นาย นาวาตรีประวิทย์ รัตนอุบล ผบ.เรือ รวมอยู่ในจำนวนนี้ด้วย ซึ่งนับเป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่ของ ร.ล.สมุย และทหารประจำเรือ

วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2485 เรือสมุยได้ออกเดินทางไปสิงคโปร์เป็นเที่ยวแรก เหตุการณ์ดีเป็นที่เรียบร้อย เที่ยวหนึ่งๆ ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนเศษ สุดแต่ว่าทางการจะเร่งเอาน้ำมันหรือไม่ ถ้าระยะเวลาไหนเร่งก็ออกเรือกระชั้นหน่อย เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เข้าอู่ปรับเครื่องกันเสียเลย จนกระทั่งเที่ยวที่ 18 นาวาตรี (นาวาเอก) ประวิทย์ รัตนอุบล นำเรือออกจากกรุงเทพฯ เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 ระหว่างทางเครื่องจักรใหญ่ขัดข้อง จึงแวะซ่อมเครื่องอยู่ที่โคตาบารูหลายวัน เมื่อเสร็จแล้วจึงเดินทางต่อไปถึงโชนัน โดยปลอดภัย

วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2488 สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ได้ทั้งประเทศ และเลื่อนฐานะเรือดำน้ำมาที่ฟิลิปปินส์ ทำให้ใกล้เส้นทางเดินเรือของไทยเข้ามาอีกมาก เรือหลวงสมัยรับน้ำมันจากโชนันมาเต็มที่ คือบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มระวาง และถึงมีน้ำมันเบนซิน บรรจุใส่ถัง 200 ลิตร วางไว้บนดาดฟ้าเต็มไปหมด และออกเดินทางจากโชนัน ในวันที่ 15 มีนาคมตอนเช้า

วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2488 เวลาเช้าเครื่องบินทะเลของญี่ปุ่นเครื่องหนึ่งมาวนเวียนเหนือเรือ และโบกธงแดง แต่ทางเรือมิได้หยุดเรือคงเดินหน้าต่อไป เครื่องบินนั้นได้บินไปไกล แล้วบินกลับมาที่เรือสมุยอีก และโบกธงแดงอีกหลายครั้ง ต่อจากนั้นเครื่องบินนั้นก็หายไป ส่วนเรือสมุยคงเดินทางต่อมาตามเดิม เข็ม 324 ตั้งใจไว้ว่า เมื่อมาถึงเกาะลาปัสแล้ว จึงจะเปลี่ยนเข็มใหม่ เรือดำน้ำอเมริกัน ชื่อ Sea Lion II ผู้บังคับการเรือ ชื่อ นาวาตรี C.P. Putnam ได้คอยดักโจมตีอยู่บริเวณนั้น

วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2488 เวลา 02.45 เรืออยู่ทางตะวันออกของเกาะคาบัสห่าง 7 ไมล์ ประมาณ 5, 18, 103 ได้ถูกตอร์ปิโด จากเรือดำน้ำซีไลออน นัดแรกถูกหัวเรือขวา และได้ยินเสียงระเบิดในเรือระยะติดๆ กันนั้น ก็ถูกยิงอีกนัดหนึ่งตรงกลางลำค่อนไปทางหัวเรือเกิดระเบิดขึ้นในเรือทำให้ไฟ ไหม้ และหัวเรือจมดิ่งลงต่อจากนั้นไฟได้ลุกติดน้ำมันซึ่งลอยเป็นฝาอยู่รอบๆ ตำบลที่เรือจม และเรือได้จมภายใน 3 นาทีเรือ ทหารได้โดดลงน้ำ พยายามว่ายเข้าหาฝั่งฝ่าเพลิงที่ลุกอยู่ทั่วไป

ที่สำคัญเวลานั้นคลื่นจากตะวันออกใหญ่มาก บางคนเกาะเศษไม้และสิ่งของต่างๆ ลอยตามคลื่นที่พัดเข้าฝั่ง บางคนลอยคออยู่ในน้ำนานตั้ง 14 ชั่วโมง และไปสลบอยู่ตามชายฝั่งอำเภอมารัง จังหวัด ตรังกานู รวม 17 คน เรือไว (เรือโบตชนิดหนึ่ง) ของเรือหลวงสมุยลอยไปติดเกาะคาปัส ในเรือนี้ไม่มีคนมีแต่เสื้อนอกของ ตาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบล 1 ตัว ผู้ที่ตายมีจำนวน 31 คน ในจำนวนนี้มี นาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบลด้วย เรือหลงสมุย ซึ่งมีระวางขับน้ำ 1,850 ตัน เป็นเรือรบไทยลำแรกที่จมในสงครามครั้งนี้

[ คลิกเพื่อดูภาพของท่าน : นาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบล : http://nathoncity.com/upload/pics/r437-4.jpg ]

ทั้งนี้ ได้ข้อมูลการโจมตีเรือหลวงสมุย (ลำที่ 1) จากเรือดำน้ำซีไลออน 2 ของอเมริกา และภาพเรือดำน้ำลำนี้ คลิก : [ http://www.bloggang.com/data/c/chuk007/picture/1250063716.jpg ] ซึ่งเรือดำน้ำซีไลออนสอง (USS Sealion II (SS-315) นี้ เป็นเรือดำน้ำ SS ประเภทเรือดำน้ำโจมตี (attack submarine) ระวางขับน้ำ 1,525 ตัน ที่ผิวน้ำ, 2,424 ตัน ใต้น้ำ

โดยการซุ่มโจมตีเรือหลวงสมุย (ลำที่ 1) มีบันทึกจากฝั่งอเมริกาว่า เรือดำน้ำซีไลออนท์กลับมาถึง Fremantle ในวันที่ 24 หลังจากนั้นได้ออกปฏิบัติการณ์ในทะเลอีกครั้ง ในวันที่ 19 กุมภาพันธ 1945 ซึ่งเป็นการปฏิบัติการณ์เที่ยวที่ 5 ของเรือดำน้ำลำนี้ โดยทำงานร่วมกับเรือดำน้ำในกลุ่มเรือดำน้ำโจมตีด้วยกัน หลังจากนั้น เรือดำน้ำซีไลออนท์เดินทางกลับไปยังทะเลจีนใต้ (South China Sea) และเล็ดลอดเข้าไปในอ่าวไทย (Gulf of Siam)

ต่อมา ในช่วงเวลาก่อนฟ้าสางของวันที่ 17 มีนาคม 1945 ขณะที่ท้องฟ้ายังมืดอยู่ เรือดำน้ำซีไลออนท 2 ได้ทำการยิงตอร์ปิโดใส่เรือบรรทุกน้ำมันขนาดเล็กของไทย ร.ล. สมุย (ลำที่ 1) ซึ่งไม่มีกำลังคุ้มกัน จนจมลง ประวัติทั้งหมดของเรือดำน้ำลำนี้ อ่านได้ที่ : [ http://www.history.navy.mil/danfs/s8/sealion-ii.htm ]

- ต่อไปนี้เป็นข้อมูลจำเพาะของเรือหลวงสมุยครับ ..

ร.ล. สมุย เรือลำเลียงน้ำมัน (เรือ นม.) ชื่อเรือ (ภาษาไทย) ร.ล.สมุย, สร้างโดย Abina Engine Machine Waki Profland Origan, ชื่อเดิม YOG 60, นามเรียกขาน HSZP, สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2487, ขึ้นระวางประจำการเมื่อปี 2490, ประเภท เรือลำเลียงน้ำมัน, ตัวเรือสร้างด้วยแผ่นเหล็กประสานตะเข็บ, ส่วนประกอบตัวเรือสร้างด้วยโครงเหล็ก, ความเร็วสูงสุด 11.2 นอต, ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 9.2 นอต, ระวางขับน้ำปกติ 411 ตัน, ระวางขับน้ำเต็มที่ 1235 ตัน, ความยาวตลอดลำ 51.22 เมตร, ความยาวที่แนวน้ำ 50.03 เมตร, ความกว้างมากที่สุด 10.01 เมตร, ความกว้างที่แนวน้ำ 10.01 เมตร, ความสูงถึงดาดฟ้าใหญ่ 20 เมตร, ความสูงถึงยอดเสา 38 เมตร, กินน้ำลึกปกติ หัว 0.88 เมตร ท้าย 9 เมตร, กินน้ำลึกเต็มที่ หัว 3.59 เมตร ท้าย 3.59 เมตร, ผู้บังคับบัญชา ร.อ. อติชาต พรประสิทธิ์ ผบ.เรือ ร.ท.ธวัชศักดิ์ มิตรโกสุม ตก.

อีกอย่างหนึ่ง มีข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือนาวิกศาสตร์ด้วย ทำให้ทราบว่า ปัจจุบันซากของเรือหลวงสมุย (ลำที่ 1) ยังคงจมอยู่ใต้น้ำ ในบริเวณเดิม คือ ในอ่าวไทย ด้านทิศตะวันออกของเกาะคาปัส

- ขอบคุณที่มาข้อมูล จาก: www.nathoncity.com

** เนื้อหาเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง .. http://www.navy.mi.th/civil/nanasara/nanasara_0001.html

เเละขอขอบคุณทางเพจ สงคราม ประวัติศาสตร์ เป็นอย่างสูงด้วยครับ  :D 

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แผนลับราชนาวีไทย


[ "ยุทธการฮาเตียน"..แผนลับราชนาวีไทยเอาคืนกองเรือฝรั่งเศส]

" คนไทยไม่ควรลืม " แผนยุทธการฮาเตียน " และรับรู้ว่าแผนนี้มีจริงซึ่งปกปิดกันมานานกว่า ๖๐ ปีแล้ว "

. . : น้อยท่านนักที่จะรู้จักชื่อนี้ เรามักจะได้ยินได้ดูภาพยนต์แผนยุทธการชื่อแปลกๆ เป็นเหตุการณ์วีรกรรมหรือพวกนักสืบ เกี่ยวกับความเป็นความตายของประเทศชาติบ้านเมือง ยกตัวอย่างให้ท่านดูก็ได้ เช่น ยุทธการกางเขนเหล็ก ยุทธการวันเผด็จศึกป้อมปืนนานวาโลน แผนโทราโทร่าถล่มอ่าวเพิร์ล หรือแม้แต่ยุทธการเอ็นเทบเบ้ชิงตัวประกัน และอีกหลายๆ เรื่อง..

. . . จากเหตุการณ์ครั้งก่อน เมื่อ ๑๗ มกราคม ๒๔๘๔ คนไทยคงจะจำกันได้ว่า ครั้งหนึ่งทหารเรือไทยเคยสร้างวีรกรรมไว้จนยากจะลืมเลือน คือ "ยุทธนาวีที่เกาะช้าง" จังหวัดตราด เราต้องสูญเสียเรือรบไปกว่า ๓ ลำ คือ เรือหลวงธนบุรี เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี แม้เป็นฝ่ายสูญเสีย แต่เรือก็รบจนสุดใจขาดดิ้น สู้อย่างยิบตาไม่เกรงกลัว และสร้างรอยแผลเล็กๆ ไว้ให้ข้าศึกผู้รุกรานเหมือนกัน เช่น เรือลามอตต์ปิเกต์ ซึ่งไปจอดเลียแผลอยู่ที่เมือง ไซ่ง่อน หลังจากการสู้รบไม่นานนัก..

. . . รอยจารึกครั้งนั้น ลูกนาวีไทยเก็บไว้นานวันนับ ๑๐ ปีนั้น เราจะต้องทำอะไรฝั่งใจข้าศึก ตาน้ำข้าวให้ได้ และชาวโลกจะได้รับรู้ และแล้ว "แผนยุทธการฮาเตียน" ก็เกิดขึ้น ซึ่ง "ฮาเตียน" เป็นชื่อของเมืองท่าในกัมพูชา ที่ในเวลานั้นตกเป็นของฝรั่งเศส และมีเรือรบของฝรั่งเศสจอดอยู่หลายลำ ซึ่งคาดว่าจะเตรียมเข้าโจมตีไทยอีกระลอกแน่นอน เพระาคราวที่แล้ว ๑๗ มกราคม ๒๔๘๔ ไทยเราไม่ได้เตรียมตัวและไม่ทันตั้งตัว.. ยุทธการฮาเตียนนี้จะถือว่าเป็นการแก้แค้นแก้เผ็ดและสั่งสอนก็ย่อมได้ เพราะยุทธการครั้งนี้มีการวางแผนเพื่อให้ได้ซึ่งชัยชนะเท่านั้น..

. . . เราเคยเก็บกดจากเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ หรือ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖ ครั้งนั้นยุทธนาวีที่ปากน้ำเจ้าพระยา เราต้องเสียเปรียบคู่ต่อสู้มาครั้งหนึ่งแล้ว เป็นข้าศึกศัตรูเจ้าเก่าซะด้วย คราวนี้ลูกทหารเรือไทยตัวเล็กๆ แต่ร้ายกาจ กล้าหาญยิ่ง จะลุกขึ้นมาแก้เผ็ด สั่งสอนซะบ้างแล้ว เรียกว่า " ลูกประดู่สู้ตายก็ย่อมได้ "

. . หลังจากราชนาวีไทยได้ลาดตระเวนดูลาดราวอย่างเงียบๆ ไม่ถึง ๑ อาทิตย์ แผนนี้ก็ได้เริ่มขึ้นทันที.. โดยที่ไม่มีใครล่วงรู้ เห็นมีแต่พวกนายทหารระดับผู้บังคับการ หรือ เสนาธิการเท่านั้น

. . . ราชนาวียังคงเงียบกริบ ไม่ตระโตกกระตากอะไรทั้งสิ้น มันเป็นความลับและแผนลึกๆ ในใจของทหารเรือไทยชั้นสูงเสมอ ภายในกองบัญชาชั่วคราว(เฉพาะกิจ) ณ อ่าวเตยงาม ฐานทัพเรือสัตหีบ..ยามนั้นเป็นเวลาดึก ท่านผู้บัญชาการทหารเรือ "พลเรือตรีหลวงสินธุสงครามชัย" (ยศในขณะนั้น)..ยกบุหรี่ขึ้นมาสูบอย่างช้าๆ มีนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่อีก ๒-๓ ท่าน เบื้องหน้าเป็นโต๊ะยุทธการ บนนั้นเป็นแผนที่ สมุดบันทึก สไลด์รูลและอะไรอื่นอีก ๒-๓ อย่าง..ทั้งนี้เพื่อหาระยะทางและเวลาที่แท้จริง ซึ่งเทียบแล้วเวลาลงมือดูๆไปไม่มีอะไรผิดกับ "นายพลเรือ ยามาโมโต้" ที่วางแผนถล่มอ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ ที่มลรัฐฮาวาย..

. . . และแล้วเวลาอันควรจะเป็นก็มาถึง วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๔๘๔ เรือรบทุกลำในอ่าวสัตหีบ ก็ได้รับคำลังให้เตรียมพร้อม โดยเฉพาะเรือตอปิโดใหญ่ ๖ ลำ อาทิเช่น เรือหลวงภูเก็ต เรือหลวงปัตตานี เรือหลวงระยอง เรือหลวงชุมพร ได้รับคำสั่งให้ติดไฟหม้อน้ำ เตรียมพร้อมที่จะออกเรือได้ ลูกเรือลำละ ๙๐ คน อาวุธเต็มอัตราศึก ที่สำคัญทั้ง ๖ ลำ ได้รับการติดอาวุธที่คาดไม่ถึง คือ ทุ่นระเบิดชนิดเบาแบบกระทบแตก มันถูกส่งขึ้นมาวางตรงท้ายเรือ ทั้ง ๒ กราบ ลำละ ๒๕ ลูก รวมแล้วเรือรบ ๖ ลำ ขนของขวัญพิเศษ รวม ๑๔๔ ลูก และสำหรับเรือ ๓ ลำ ที่นำทุ่นระเบิดนี้ไปฝาก นายเศส นั้น ครั้งนี้ต้องขอจารึกไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติ คือ เรือหลวงบางระจัน เรือหลวงหนองสาหร่าย และเรือหลวงคราม (ลำเก่า)..

. . . เรือรบ ๖ ลำ ในยุทธการนี้ถือว่าทันสมัยมากยุคนั้น ฉายาที่ได้รับคือ "ฉลามทะเล" หรือ ฉลามหนุมผู้คะนองศึก ซึ่งลูกเรือล้วนแล้วเป็นคนวัยหนุ่ม อยู่ในวัยฉกรรจ์ทั้งนั้น และเรือพวกนี้เพิ่งถูกสร้างและรับมาจากอิตาลี เรียกได้่ว่าไฟแรงทั้งคนและของจริงๆ..

. . . ในที่สุด วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๘๔ "เจ้าฉลามทะเล" ทั้ง ๖ ลำ ที่บรรทุกหนักจนหัวเรือเชิดไปตามๆ กัน พากันค่อยๆ ถอนสมอเคลื่อนตัวไปช้าๆ ออกสู่ทะเล เมื่อได้ออกมาไม่ไกลนัก ก็มีเรือรบไทยเขามาสมทบอีก ๒ ลำ คือ เรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงแม่กลอง จึงได้จัดกองเรือเป็น ๒ ขบวน โดยให้เรือรบที่มาสมทบใหม่เป็นผู้นำขบวนอย่างละลำ..พอเวลารุ่งสาง เหล่าลูกเรือนั้นก็พอรู้ว่าขบวนเรือ ๒ ขบวนนี้มุ่งไปยังทิศใหน แต่ว่าจะพากันไปไหน ทำอะไรอย่างไรนั้น ไม่รู้มากนัก..

. . . ลูกราชนาวีไทยทุกนายต่างก็ไม่ถามอะไรกันมากนัก ว่าจะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ก็ได้แต่พากันฮัมเพลงและร้องเพลงปลุกใจของเหล่าลูกประดู่ในลำคอไปพลางๆ ซึ่ง"เสด็จเตี่ย" หรือ "พลเรือเอก สมเด็จฯ กรมหลวงชุมพลเขตอุดมศักดิ์" ผู้ซึ่งเป็นบิดาแห่งกองทัพเรือไทย ได้ทรงนิพนธ์ไว้..

. . ."อนาคตเราไม่รู้ ถึงไม่รู้ก็ต้องเดินไป จะกลัวไปใย มันก็ล่วงไปตามเวลา ไม่ตายวันนี้ก็คงไมซี้เอาวันข้างหน้า" บ้างก็ทำใจให้ฮึกเหิมตามวิสัยลูกประดู่ "หนึ่งพัน ห้าร้อยไมล์ทะเลไทยมี นาวีนี้เฝ้า" "ราชนาวีไทย คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล" ฯลฯ

. . . เวลาต่อมาทุกสายตาต่างจับจ้องไปที่ดาดฟ้าของเรือลำหนึ่งใน ๘ ลำ ตอนนั้นเป็นตอนค่ำ หลังจากเวลาที่ทุกคนรับประทานข้าวปลาอาหารเรียบร้อยแล้ว เวลาประมาณ ๒ ทุ่ม นายทหารเรือยุทธการท่านหนึ่งก็ได้เดินออกมาที่หัวเรือ พร้อมเป่านกหวีดเรียกพล และเมื่อทุกคนเข้าแถวตามหัวเรือกันเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ประกาศด้วยเสียงอันดังฉาน และเด็ดเดี่ยวขึ้นว่า..-->.

. . . "พี่น้องทหารที่รักทั้งหลาย อันเป็นเพื่อนร่วมชีวิต ร่วมเป็น ร่วมตาย ทุกคน เรารับคำสั่งให้ไปปฏิบัติการ เดินหน้าวางทุนระเบิด ปิดล้อมบริเวณหน้าอ่าวฐานทัพเรือฝรั่งเศส ที่ฮาเตียน โดยมีกำหนดออกเดินทางในคืนนี้ โดยจะต้องถึงบริเวณและเริ่มปฏิบัติการทางยุทธวิธี ในเวลา ๒๔.๐๐ ของวันที่ ๒๘ มกราคม หลังจากวางทุ่นระเบิดเสร็จสิ้น ขบวนเรือตอปิโดทั้ง ๖ ลำ จะแล่นตีวงโอบอยู่ภายนอก ต่อไปจะเป็นหน้าที่ของเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงแม่กลอง จะระดมยิงชายฝั่ง โดยมีเรือหลวงศรีอยุธยาที่เลียบฝั่ง เพื่อบีบให้เรือรบฝรั่งเศสในฐานกำลังที่เมืองฮาเตียนออกมาจากอ่าว เข้าสู้สนามทุ่นระเบิดที่เราวางไว้ และเรือตอร์ปิโดใหญ่จะระดมยิงเข้าซ้ำที่เดิม พอใกล้รุ่งสาง กองกำลังนาวิกโยธินซึ่งมากับเรือหลวงศรีอยุธยา จะยกพลขึ้นบก ยึดฐานทัพเรือฮาเตียนของข้าศึก การปฏิบัติภารกิจเสี่ยงอันยากนี้ ขอให้พวกเราทุกคน จงยึดมั่นปฏิบัติหน้าที่จนสุดความสามารถ หากตายจะขอตายด้วยกันทุกลำ เหมือนกับดอกประดู่ ที่พากันโรยไปทั้งต้น ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ ที่นี้ ในเรือลำนี้ พร้อมด้วยคุณพระศรีรัตนตรัย จงปกป้องคุ้มครองเราทุกคน". . .

. . .พอสิ้นเสียงประกาศ ก็มีเสียง"ไชโย"กระหึ่มไปทั่วทั้งกองเรือ และบัดนี้ก็ได้ทราบกันทั่วแล้วว่าภารกิจอันสำคัญนี้คือภารกิจอะไร...และมี เสียงของทหารคนหนึ่ง พูดดังขึ้นว่า " ถึงเวลาแก้มือแล้ว " ...

. . . เช้าวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๘๔ จะเป็นวันที่เหมือนวัน D-DAY ก็ว่าได้ โดยขณะนี้ลูกเรือทุกคนรับทราบกันแล้ว ว่าจะต้องทำอะไร ต่างก็มีใจฮึกเหิม ไม่เป็นอันกินอันนอนกันเลยทีเดียว เพราะอยากให้ถึงเวลานั้นเร็วๆ ดูแล้วยิ่งกว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะพาเข้าหอเสียอีก ซึ่งทหารทุกนายเตรียมพร้อมสู้อย่างเต็มที่ ต่างมีพระห้อยคอกันแทบทุกนาย เป็นเวลาที่เรียกว่า "เครื่องรางของขลังถูกปลุก สิ่งศักดิ์สิทธิถูกอาราธนา " กันเลย และขณะเดียวกันก็ได้พากันตรวจเช็คความพร้อมของอาวุธปืนประจำของตนจนเสร็จ ก่อนเที่ยง..

. . . และหลังจากเที่ยงวันนั้น ลูกเรือที่เป็นเจ้าหน้าที่สรรพวุธ ก็ได้พากันมาเตรียมทุ่นระเบิด ปืนทุกระบอก ตอปิโด และทุกอย่างพร้อมที่จะปฏิบัติการได้ทันที..

** - . . แล้วเหตุการณ์อันน่าสงสัยก็บังเกิดขึ้นจากการแล่นของเรือนำขบวน คือ เรือหลวงแม่กลอง และเรือหลวงท่าจีน ได้ลดความเร็วลง ปรับหัวเรือเลียวซ้าย และขวาออกจากันตามลำดับ ตามลำดับ แล้วเรือนำขบวนทั้ง 2 ลำ ก็ส่งสัญญาณสั่งให้เรือลูกหมู่ทุกลำ ปฏิบัติตามในรูปขบวนตามเดิม..

(. .ไม่มีใครเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะอีก ๑๒ ชั่วโมงก็จะได้ลงไม้ลงมือกันแล้ว แต่ทว่าคำสั่งก็ต้องเป็นคำสั่ง . .)

. . . ต่อมาสักพักหนึ่ง นายทหารยุทธการคนหนึ่ง ก็เดินออกมา แจ้งให้ทุกคนได้ทราบ ว่าได้รับคำสั่งด่วนที่สุดทางสัญญาณวิทยุจากกองบัญชาการกองทัพเรือ ว่ากองทัพเรือให้ระงับแผนยุทธการ ที่กำลังจะลงมือไว้ก่อน เนื่องจากเมื่อเวลา ๑๐.๐๐ วันนี้ ..รัฐบาลไทยได้รับเงื่อนไขของรัฐบาลของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรรรดิ์ ญี่ปุ่น ได้เสนอและยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เจรจาไกล่เกลี่ยในการ "ระงับกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส" โดยให้กองเรือไปรวมพลที่เกาะพะงัน ซึ่งผลของการไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่นคราวนี้..ทำให้เราได้ดินแดนกลับคืนมา คือ เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสเภณ และ จำปาศักดิ์ แต่ก็ต้องหลุดมือเสียไปอีกภายหลัง เพราะผลของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม..

. . . อย่างไรก็ตามที่มีผู้คนบางคนคางส่วนไม่รู้ กล่าวหาว่ากองทัพเรือไทยถูกข้าศึกจู่โจมจนไร้บทบาทนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะยุทธการฮาเตียนยังไม่บรรลุผลเหตุเพราะยกเลิกปฏิบัติการณืเสียก่อน ราชราวีไทยเป็นเสมือนผู้ปิดทองหลังพระก็ว่าได้ ด้วยเหตุผลที่เล่ามานี้ ซึ่งในขณะนั้นกองทัพเรือไม่ได้เปิดเผยข้อมูลใดๆ ให้ใครรู้อย่างเป็นทางการ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะไม่มีความจำเป็น หรือ อาจจะเป็นการปฏิบัติการลับก็ไม่มีใครล่วงรู้..

. . . สรุปแล้ว "ราชนาวีไทย" เปรียบเสมือนดาบเล่มหนึ่ง ซึ่งดาบเล่มนี้มีคุณค่าเสมอ พร้อมที่จะลงดาบกับข้าศึกที่เข้ามารุกรานประเทศชาติตลอดเวลา และจะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี รวมทั้งการดูแลพี่น้องประชาชนด้วย..

=================================
"ขอสดุดีวีรกรรมอันกล้าหาญและเสียสละของนักรบไทยทุกท่าน"
=================================
- ที่มา : http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=edat&topic=690 ... 


เเละขอขอบคุณทางเพจ สงคราม ประวัติศาสตร์ ไว้โอกาสนี้ด้วยครับ  :D

ยุทธนาวีเกาะช้าง

ยุทธนาวีเกาะช้าง

ยุทธนาวีที่เกาะช้างเป็นเหตุการณ์รบทางเรือ ซึ่งเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจาก กรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีน ฝรั่งเศส กล่าวคือ ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ ขณะที่ฝรั่งเศสจะประกาศสงครามกับเยอรมัน ฝรั่งเศสขอให้รัฐบาลไทยทำสัญญาไม่รุกรานกันทางแหลมอินโดจีน รัฐบาลไทยได้ตอบฝรั่งเศสไปว่าไทยยินดีจะรับตกลงตามคำของฝรั่งเศส แต่ขอให้ฝรั่งเศสตกลงบางประการ กล่าวคือ ให้ฝรั่งเศส ปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และหลักความยุติธรรม กล่าวคือ ฝ่ายไทยได้เสนอให้ถือแนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ และให้
ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไปคืนให้ไทย เป็นต้นจึงปรากฏว่าไม่เป็นที่ตกลงกัน ต่อมาราษฎรได้เดินขบวนแสดงประชามติเรียกร้องดินแดนที่เสียไปหนักขึ้น กรณีพิพาทจึงได้เริ่มลุกขึ้นตามชายแดนเป็นแห่ง ๆ และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงขั้นใช้กำลังทหารเข้าทำการสู้รบกัน ทั้งกำลังทางบก เรือ และอากาศ สำหรับทางเรือได้มีการรบกันบริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง ระหว่างกำลังทางเรือของไทย

เริ่มกันเลยละกัน

เช้าวันที่ 17 มกราคม ฝรั่งเศสได้ส่งกำลังทางเรือส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในอินโดจีนในบังคับบัญชาของนาวาเอกบรังเยร์เข้ามาในน่านน้ำไทยทางด้านเกาะช้าง ด้วยความมุ่งหมายที่จะระดมยิงหัวเมืองชายทะเล ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นประการสำคัญ เพื่อกดดันให้กำลังทหารของไทยที่รุกข้ามชายแดนต้องถอนกำลังกลับมา

กำลังทางเรือของฝรั่งเศสได้อาศัยความมืด และความเร็วรุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้เกาะช้าง มีจำนวนด้วยกันทั้งหมด 7 ลำ คือ เรือลาดตระเวนลามอตต์ปิเกต์ เรือสลุป 2 ลำ เรือปืน 4 ลำ เรือเหล่านี้ได้แยกออกเป็น 3 หมู่ หมู่ที่ 1 มี เรือลามอตต์ปิเกต์ลำเดียวเข้ามา ทางช่องด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับเกาะหวาย หมู่ที่ 3 มีเรือสลุป 1 ลำ กับเรือปืนอีก 3 ลำ เข้ามาทางช่องด้านตะวันตก ระหว่างเกาะคลุ้มกับแหลมบางเบ้า เกาะช้าง ส่วนเรือดำน้ำ และเรือสินค้าติดอาวุธ คงรออยู่ด้านนอกในทะเล และไม่ได้เข้าทำการรบ

เวลา 06:05 น. เครื่องบินตรวจการณ์ฝรั่งเศสแบบ Potez จากฐานทัพเมืองเรียมในกัมพูชา บินตรวจการผ่านกองเรือไทยและยืนยันตำแหน่งเรือตอร์ปิโดไทยสองลำ เนื่องจากในคืนนั้นเรือหลวงชลบุรีพึ่งเดินทางมาถึงเพื่อเปลี่ยนผลัดกับเรือหลวงสงขลาซึ่งมีกำหนดการกลับไปฐานทัพเรือสัตหีบ สร้างความประหลาดใจให้แก่ฝ่ายฝรั่งเศส เพราะรายงานก่อนหน้าระบุจำนวนเรือตอร์ปิโดไทยเพียงลำเดียว(ฝรั่งตกใจ)
เวลา 06:10 น. เครื่องบินทะเลฝรั่งเศสแบบลัวร์ 130 ทำการทิ้งระเบิดโจมตีเรือตอร์ปิโดไทยแต่ถูกยิงตกด้วยปืนต่อสู้อากาศยาน เรือฝรั่งเศสรู้จำนวนเรือไทยจึงเดินหน้าเข้าตีตามแผน แต่กองเรือไทยเริ่มไหวตัวแล้ว และได้โหมเร่งความดันไอน้ำเพื่อเตรียมปฏิบัติการ เมื่อสังเกตเห็นข้าศึกอยู่ในพิสัย เรือหลวงสงขลาจึงเปิดฉากยิงต่อสู้กับเรือลามอตต์ปิเกต์ที่มีอาวุธหนักกว่ามากแต่ไม่มีมุมยิงตอร์ปิโด เนื่องจากเรือหลวงสงขลาจอดโดยหันหัวเรือไปทางฝั่งเกาะช้าง กระสุนจากเรือลามอตต์ปิเกต์ทำความเสียหายแก่เรือหลวงสงขลา เกิดไฟไหม้กลางลำเรือ น้ำทะลักเข้าตัวเรือ ยุ้งกระสุนน้ำท่วม ลูกเรือเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวน มาก นาวาตรีชั้น สิงหชาญ ผู้บังคับการเรือหลวงสงขลา สั่งสละเรือใหญ่ เวลา 06:45 น. หลังจากยืนหยัดทำการรบได้ 35 นาที(สู้ตายจนเรือจมเอารถกระบะมาอัดกับสิบล้อก้อแบบนี้แหละ)

ในขณะเดียวกัน เรือหลวงชลบุรีได้ทำการยิงต่อสู้กับหมู่เรือสลุปของฝรั่งเศสที่ตรงเข้ามารุมโจมตีถูกกระสุนที่ท้ายเรือและกลางเรือ เกิดระเบิดไฟลุกไหม้ ลูกเรือเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายนาย เรือเอกประทิน ไชยปัญญา ผู้บังคับการเรือหลวงชลบุรี สั่งสละเรือใหญ่เวลา 06:53 น. หลังจากยืนหยัดทำการรบได้ประมาณ 40 นาที ซึ่งภายหลังมีรายงานจากฝ่ายไทยว่ากองเรือฝรั่งเศสได้กระทำการผิดธรรมเนียมการรบทางทะเล โดยใช้ปืนกลกราดยิงทหารเรือไทยที่ลอยคออยู่ในทะเลอีกด้วย(เรือจมแล้วสละเรือแล้วยังมายิงซ้ำลูกผู้ชายตัวจริงกระทิงแดงเลย)

เวลา 06:20 น. นาวาโท หลวงพร้อมวีระพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรี สั่งถอนสมอและเคลื่อนลำประจำสถานีรบ และสั่งให้เรือหลวงหนองสาหร่ายและเรือหลวงเทียวอุทกซึ่งเป็นเรือเล็กให้ถอนตัวออกไปจากสมรภูมิ

เวลา 06:38 น. เรือหลวงธนบุรีประจันหน้าเข้ากับกองเรือฝรั่งเศสและทำการยิงตอบโต้กับเรือลามอตต์ปิเกต์ที่ระยะ 10,000 เมตร การรบเป็นไปอย่างหนักขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหมู่เรือสลุปของฝรั่งเศสเข้าทำการร่วมรบรุมยิงเรือหลวงธนบุรีด้วย กระสุนนัดหนึ่งจากเรือลามอตต์ปิเกต์ได้ตกใต้สะพานเดินเรือและเกิดระเบิดขึ้น ทำให้ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรีรวมทั้งนายทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสหลายนาย ส่งผลให้การบังคับบัญชา สื่อสาร และควบคุมหยุดชะงัก ระบบถือท้ายเสียหายบังคับทิศทางไม่ได้ (สะพานเรือโดนยิงห้องบังคับการไม่มีใครสั่งสะแล้ว)


ภาพประกอบ เรือหลวงธนบุรี ก่อนเข้าร่วมยุทธนาวีเกาะช้าง
ผิดพลาดประการใดแอดมินโค้กขออภัยด้วยนะครับ



 รีรันบทความ ยุธนาวีเกาะช้าง

ยุทธนาวีที่เกาะช้างเป็นเหตุการณ์รบทางเรือ ซึ่งเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจาก กรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีน ฝรั่งเศส กล่าวคือ ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ ขณะที่ฝรั่งเศสจะประกาศสงครามกับเยอรมัน ฝรั่งเศสขอให้รัฐบาลไทยทำสัญญาไม่รุกรานกันทางแหลมอินโดจีน รัฐบาลไทยได้ตอบฝรั่งเศสไปว่าไทยยินดีจะรับตกลงตามคำของฝรั่งเศส แต่ขอให้ฝรั่งเศสตกลงบางประการ กล่าวคือ ให้ฝรั่งเศส ปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และหลักความยุติธรรม กล่าวคือ ฝ่ายไทยได้เสนอให้ถือแนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ และให้
ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไปคืนให้ไทย เป็นต้นจึงปรากฏว่าไม่เป็นที่ตกลงกัน ต่อมาราษฎรได้เดินขบวนแสดงประชามติเรียกร้องดินแดนที่เสียไปหนักขึ้น กรณีพิพาทจึงได้เริ่มลุกขึ้นตามชายแดนเป็นแห่ง ๆ และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงขั้นใช้กำลังทหารเข้าทำการสู้รบกัน ทั้งกำลังทางบก เรือ และอากาศ สำหรับทางเรือได้มีการรบกันบริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง ระหว่างกำลังทางเรือของไทย

เริ่มกันเลยละกัน
เช้าวันที่ 17 มกราคม ฝรั่งเศสได้ส่งกำลังทางเรือส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในอินโดจีนในบังคับบัญชาของนาวาเอกบรังเยร์เข้ามาในน่านน้ำไทยทางด้านเกาะช้าง ด้วยความมุ่งหมายที่จะระดมยิงหัวเมืองชายทะเล ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นประการสำคัญ เพื่อกดดันให้กำลังทหารของไทยที่รุกข้ามชายแดนต้องถอนกำลังกลับมา

กำลังทางเรือของฝรั่งเศสได้อาศัยความมืด และความเร็วรุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้เกาะช้าง มีจำนวนด้วยกันทั้งหมด 7 ลำ คือ เรือลาดตระเวนลามอตต์ปิเกต์ เรือสลุป 2 ลำ เรือปืน 4 ลำ เรือเหล่านี้ได้แยกออกเป็น 3 หมู่ หมู่ที่ 1 มี เรือลามอตต์ปิเกต์ลำเดียวเข้ามา ทางช่องด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับเกาะหวาย หมู่ที่ 3 มีเรือสลุป 1 ลำ กับเรือปืนอีก 3 ลำ เข้ามาทางช่องด้านตะวันตก ระหว่างเกาะคลุ้มกับแหลมบางเบ้า เกาะช้าง ส่วนเรือดำน้ำ และเรือสินค้าติดอาวุธ คงรออยู่ด้านนอกในทะเล และไม่ได้เข้าทำการรบ

เวลา 06:05 น. เครื่องบินตรวจการณ์ฝรั่งเศสแบบ Potez จากฐานทัพเมืองเรียมในกัมพูชา บินตรวจการผ่านกองเรือไทยและยืนยันตำแหน่งเรือตอร์ปิโดไทยสองลำ เนื่องจากในคืนนั้นเรือหลวงชลบุรีพึ่งเดินทางมาถึงเพื่อเปลี่ยนผลัดกับเรือหลวงสงขลาซึ่งมีกำหนดการกลับไปฐานทัพเรือสัตหีบ สร้างความประหลาดใจให้แก่ฝ่ายฝรั่งเศส เพราะรายงานก่อนหน้าระบุจำนวนเรือตอร์ปิโดไทยเพียงลำเดียว(ฝรั่งตกใจ)
เวลา 06:10 น. เครื่องบินทะเลฝรั่งเศสแบบลัวร์ 130 ทำการทิ้งระเบิดโจมตีเรือตอร์ปิโดไทยแต่ถูกยิงตกด้วยปืนต่อสู้อากาศยาน เรือฝรั่งเศสรู้จำนวนเรือไทยจึงเดินหน้าเข้าตีตามแผน แต่กองเรือไทยเริ่มไหวตัวแล้ว และได้โหมเร่งความดันไอน้ำเพื่อเตรียมปฏิบัติการ เมื่อสังเกตเห็นข้าศึกอยู่ในพิสัย เรือหลวงสงขลาจึงเปิดฉากยิงต่อสู้กับเรือลามอตต์ปิเกต์ที่มีอาวุธหนักกว่ามากแต่ไม่มีมุมยิงตอร์ปิโด เนื่องจากเรือหลวงสงขลาจอดโดยหันหัวเรือไปทางฝั่งเกาะช้าง กระสุนจากเรือลามอตต์ปิเกต์ทำความเสียหายแก่เรือหลวงสงขลา เกิดไฟไหม้กลางลำเรือ น้ำทะลักเข้าตัวเรือ ยุ้งกระสุนน้ำท่วม ลูกเรือเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวน มาก นาวาตรีชั้น สิงหชาญ ผู้บังคับการเรือหลวงสงขลา สั่งสละเรือใหญ่ เวลา 06:45 น. หลังจากยืนหยัดทำการรบได้ 35 นาที(สู้ตายจนเรือจมเอารถกระบะมาอัดกับสิบล้อก้อแบบนี้แหละ)

ในขณะเดียวกัน เรือหลวงชลบุรีได้ทำการยิงต่อสู้กับหมู่เรือสลุปของฝรั่งเศสที่ตรงเข้ามารุมโจมตีถูกกระสุนที่ท้ายเรือและกลางเรือ เกิดระเบิดไฟลุกไหม้ ลูกเรือเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายนาย เรือเอกประทิน ไชยปัญญา ผู้บังคับการเรือหลวงชลบุรี สั่งสละเรือใหญ่เวลา 06:53 น. หลังจากยืนหยัดทำการรบได้ประมาณ 40 นาที ซึ่งภายหลังมีรายงานจากฝ่ายไทยว่ากองเรือฝรั่งเศสได้กระทำการผิดธรรมเนียมการรบทางทะเล โดยใช้ปืนกลกราดยิงทหารเรือไทยที่ลอยคออยู่ในทะเลอีกด้วย(เรือจมแล้วสละเรือแล้วยังมายิงซ้ำลูกผู้ชายตัวจริงกระทิงแดงเลย)

เวลา 06:20 น. นาวาโท หลวงพร้อมวีระพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรี สั่งถอนสมอและเคลื่อนลำประจำสถานีรบ และสั่งให้เรือหลวงหนองสาหร่ายและเรือหลวงเทียวอุทกซึ่งเป็นเรือเล็กให้ถอนตัวออกไปจากสมรภูมิ

เวลา 06:38 น. เรือหลวงธนบุรีประจันหน้าเข้ากับกองเรือฝรั่งเศสและทำการยิงตอบโต้กับเรือลามอตต์ปิเกต์ที่ระยะ 10,000 เมตร การรบเป็นไปอย่างหนักขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหมู่เรือสลุปของฝรั่งเศสเข้าทำการร่วมรบรุมยิงเรือหลวงธนบุรีด้วย กระสุนนัดหนึ่งจากเรือลามอตต์ปิเกต์ได้ตกใต้สะพานเดินเรือและเกิดระเบิดขึ้น ทำให้ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรีรวมทั้งนายทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสหลายนาย ส่งผลให้การบังคับบัญชา สื่อสาร และควบคุมหยุดชะงัก ระบบถือท้ายเสียหายบังคับทิศทางไม่ได้ (สะพานเรือโดนยิงห้องบังคับการไม่มีใครสั่งสะแล้ว)



ภาพประกอบ เรือหลวงธนบุรี ก่อนเข้าร่วมยุทธนาวีเกาะช้าง








 เวลา 07:15 น. ผลจากการถูกรุมยิงทำให้เกิดไฟไหม้ใหญ่ขึ้นบนเรือหลวงธนบุรี แต่ทหารบนเรือไทยที่เหลือเพียงลำเดียวยังคงทำการยิงต่อสู้ โดยสลับเปลี่ยนเป้าหมายไปที่เรือฝรั่งเศสทั้งสามลำ เมื่อระบบถือท้ายเสียหาย ป้อมปืนไม่ทำงาน ทหารฝ่ายไทยต้องใช้วิธีการหมุนป้อมปืนด้วยมือเอง ทำให้การยิงโต้ตอบของเรือหลวงธนบุรีเป็นไปอย่างยากลำบาก แต่ถึงกระนั้นก็ยังสร้างความเสียหายให้แก่เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ในที่สุด (สู้ตายจริงๆทหารไทย)
เวลา 07:40 น. มีเครื่องบิน 1 ลำบินเข้ามาทิ้งระเบิดทะลุดาดฟ้าเรือหลวงธนบุรี มีลูกเรือเสียชีวิต3นายและบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง ในขณะที่เรือทั้งหมดยังทำการรบอย่างติดพัน ป้อมปืนที่เหลือของเรือหลวงธนบุรีไม่สามารถยิงได้อย่างแม่นยำเนื่องจากไม่อาจบังคับเรือได้ตรงทิศทาง เรือหลวงธนบุรีได้แล่นลำเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น กองเรือรบฝรั่งเศสจึงได้ส่งสัญญาณถอนตัวจากการรบ (เครื่องบินที่ทิ้งระเบิดนั้นข่าวว่าเป็นเครื่องบินของไทยกันเองเพราะว่ามองไม่ชัดมีควันจากการถูกโจมตีอย่างหนักเลยนึกว่าเป็นเรือของฝรั่งเศสซวยจริงๆ)
เวลา 07:50 น. หลังจากถอนตัวจากการรบ เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ยิงตอร์ปิโดอีกชุดเข้าหาเรือหลวงธนบุรีที่ระยะ 15,000 ม. แต่พลาดเป้า ในขณะที่เรือหลวงธนบุรียังทำการยิงต่อสู้อย่างต่อเนื่อง และในที่สุดเรือทั้งหมดได้เคลื่อนออกนอกพิสัยทำการรบ (ยังไม่สละเรืออีกหรอโดนขนาดนั้น)
เวลา 08:20 น. เรือหลวงธนบุรีหยุดยิง
เวลา 08:40 น. นาวาเอกเรจี เบรังเยร์ ออกคำสั่งให้กองเรือฝรั่งเศสมุ่งหน้ากลับฐานทัพ เนื่องจากเกรงกำลังหนุนของไทย โดยเฉพาะเรือดำน้ำ เนื่องจากฝ่ายไทยรู้ตัวแล้ว ในเวลาเดียวกัน หมู่บินที่ 2 แบบ Hawk 3 จากกองบินจันทบุรีได้มาถึงและทำการทิ้งระเบิดโจมตีเรือฝรั่งเศส แต่ถูกสกัดด้วยปืนต่อสู้อากาศยานอย่างหนัก ระเบิดลูกหนึ่งตกลงบนเรือลามอตต์ปิเกต์ แต่ไม่ระเบิด(ฝรั่งโชคดีจังนะ) ในเวลา 09:40 น. ฝูงบินทิ้งระเบิดบ่ายหน้ากลับ ทำให้กองเรือฝรั่งเศสหลุดรอดออกไปได้ และมุ่งหน้ากลับไปไซ่ง่อน

เรือหลวงธนบุรีจมเกยตื้น

ทหารเรือช่วยกันดับไฟที่กำลังไหม้บนเรือหลวงธนบุรี
เมื่อเรือรบฝรั่งเศสล่าถอยไปจากบริเวณเกาะช้างแล้ว ป้อมปืนต่าง ๆ ในเรือหลวงธนบุรีจึงหยุดยิงเมื่อเวลา 8.20 น. ทหารประจำป้อมปืนต่างพากันเปล่งเสียงไชโยขึ้นพร้อม ๆ กัน ด้วยความดีใจที่สามารถขับไล่ข้าศึกไปได้ จากนั้นทั้งหมดก็ได้ช่วยกันดับไฟที่ไหม้เรืออยู่อย่างหนัก แต่ไฟก็ไม่สงบลง เรือเอกทองอยู่ สว่างเนตร์ ต้นเรือซึ่งทำหน้าที่แทนผู้บังคับการเรือ(ผู้บังคับการจำเป็นสุดยอดเลย) จึงตัดสินใจไขน้ำเข้าคลังกระสุนและดินปืน เพื่อป้องกันดินปืนและกระสุนต่างๆ ระเบิดเมื่อไฟลุกลามไปถึง ทำให้น้ำไหลเข้าเรือเร็วขึ้นและเอียงไปทางกราบขวา แต่เรือก็ยังใช้จักรเดินต่อไปด้วยความสามารถของพรรคกลิน ต่อมาเมื่อไฟไหม้ลุกลามไปถึงหลังห้องเครื่องจักร ควันไฟและควันระเบิดได้กระจายไปถึงห้องเครื่องจักรใหญ่ เครื่องจักรช่วย และห้องไฟฟ้า ทำให้ทหารพรรคกลินในห้องไฟฟ้า 8 นายขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่(เรื่องร้ายๆยังไม่จบอีกหรอ) แม้ผู้ที่อยู่ข้างนอกจะพยายามเข้าไปช่วยเหลือนายทหารดังกล่าวก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีไฟไหม้สก้ดอยู่ที่ปากทางช่องขึ้นลงไปยังห้องเครื่องของเรือ
เวลา 9.50 น. เรือหลวงช้าง ภายใต้การบังคับบัญชาของเรือเอกสนิท อังกินันท์ ได้นำเรือเข้าช่วยดับไฟที่ไหม้อยู่อย่างหนักบนเรือหลวงธนบุรี แต่ไม่ค่อยได้ผล เพราะสายสูบน้ำผ้าใบยาวไม่พอที่จะลากหัวสูบไปฉีดให้ถึงห้องต่างๆ ภายใต้ดาดฟ้าเรือได้ เรือหลวงช้างจึงเปลี่ยนวิธีเป็นทำการลากจูงเรือหลวงธนบุรีไปพลางพร้อมทั้งทำการดับไฟในเรือไปด้วย แต่ก็ยังไม่ได้ผลอีก เมื่อเห็นหมดทางที่จะแก้ไขได้แล้ว ผู้บังคับการเรือหลวงช้างจึงตัดสินใจจูงเรือหลวงธนบุรีให้ไปเกยตื้นที่บริเวณแหลมงอบ
เวลา 11.30 น. เรือหลวงธนบุรีถูกจูงมาถึงเขตน้ำตื้นและไม่สามารถลากจูงต่อไปได้ ต้นเรือเรือหลวงธนบุรีจึงสั่งให้ลำเลียงทหารบาดเจ็บลงเรือหลวงช้าง แล้วให้สละเรือใหญ่ ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงและทหารเรือส่วนหนึ่งยังคงพยายามดับไฟในเรือหลวงธนบุรีต่อไปแต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดเรือหลวงธนบุรีก็จมลงเมื่อเวลา 16.40 น.(อึดจริงๆ) โดยจมไปทางกราบเรือทางขวา เสาทั้งสองเอนจมลงไป กราบซ้ายและกระดูกงูกันโคลงโผล่อยู่พ้นน้ำ

ผลการรบ

ฝ่ายไทยเสียเรือรบไป 3 ลำ คือ เรือหลวงธนบุรี เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี ทหารเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 36 นาย แบ่งเป็นทหารประจำเรือหลวงธนบุรี 20 นาย (รวมนาวาเอก หลวงพร้อมวีระพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรีด้วย) เรือหลวงสงขลา 14 นาย และเรือหลวงชลบุรี 2 นาย เฉพาะเรือหลวงธนบุรีนั้น ต่อมากองทัพเรือไทยได้กู้ขึ้นมาเพื่อทำการซ่อมใหญ่ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 แต่เนื่องจากเรือเสียหายหนักมาจึงได้ปลดระวางจากการเป็นเรือรบและใช้เป็นกองบังคับการลอยน้ำของกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ จนกระทั่งปลดประจำการในปี พ.ศ. 2502 หลังจากนั้นทางราชการจึงได้นำส่วนป้อมปืนเรือและหอบังคับการของเรือหลวงธนบุรีมาจัดตั้งเป็นอนุสรณ์สถานเรือหลวงธนบุรี ภายในโรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ
สำหรับฝ่ายฝรั่งเศส แม้จะไม่เสียเรือรบลำใดเลยก็ตาม แต่เรือธงลามอตต์ปิเกต์นั้นก็ได้รับความเสียหายอย่างหนักเช่นกัน ส่วนจำนวนทหารที่เสียชีวิต และบาดเจ็บนั้น การข่าวของฝ่ายไทยไม่ทราบจำนวนแน่นอน แต่มีรายงานว่าเมื่อเรือข้าศึกกลับถึงไซ่ง่อน ได้มีการขนศพทหารที่เสียชีวิต และทหารที่ได้รับบาดเจ็บขึ้นบกกันตลอดคืน ขณะที่ฝ่ายฝรั่งเศสอ้างว่าไม่มีความสูญเสียแต่อย่างใดเลย แต่ฝ่ายไทยกลับยืนยันว่าเรือลามอตต์ปิเกต์ถูกเรือหลวงธนบุรียิงเข้าอย่างจัง จนสังเกตได้ว่ามีไฟลุกอยู่ตอนท้ายเรือ และลำเรือตอนท้ายนั้นแปล้น้ำมากกว่าปกติ โดยอ้างตามคำให้การของทหารเรือที่รอดชีวิตและชาวประมงที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่การรบนี้ ได้มีบันทึกต่อมาว่าเรือลามอตต์ปิเกต์ได้เดินทางไปยังเมืองโอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อซ่อมบำรุงเรือในเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 หลังจากนั้นจึงได้ปลดเป็นเรือฝึกเมื่อเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และถูกจมโดยเครื่องบินสังกัดกองเรือเฉพาะกิจที่ 38 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2488


สุดท้าย ขอขอบคุณทางเพจ สงคราม ประวัติศาสตร์ ไว้โอกาสนี้ด้วยครับ :D

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วีรกรรม ตชด. ณ บ้านกกค้อ , บ้านหนองดอ ,บ้านน้อยป่าไร่


[ วีรกรรม ตชด. ณ บ้านกกค้อ , บ้านหนองดอ ,บ้านน้อยป่าไร่]

8 มกราคม 2520 ในสมัยที่ พล พต เรืองอำนาจ และปกครองประเทศกัมพูชา เกิดเหตุการณ์ที่ทหารกัมพูชานับร้อยๆ นายได้บุกเข้ามาที่หมู่บ้านกกค้อ ,หนองดอ และบ้านน้อยป่าไร ที่อรัญประเทศ สังหารโหดชาวบ้านไม่ว่าลูกเด็กเล็กแดง ผู้หญิง คนแก่ อย่างโหดเหี้ยม ทารุณ.. ไปถึง 30 กว่าศพ รวมทั้งเผาหมู่บ้านวอดจนเหลือแต่เถ้าถ่าน..!!!

เหตุเกิดที่ บ้านกกค้อ, หนองดอ, น้อยป่าไร่ ที่ อรัญญประเทศ

ตลอดยุคที่ผ่านมา เขมรส่อพฤติกรรมให้ชาวโลหได้เห็นว่า ไม่เคยมีความบริสุทธิ์ใจต่อไทยเท่าไหร่นัก ประเทศไทยซึ่งทำตามเสมือนเป็นพี่น้องที่ดีกับเขมร แต่เขมรกลับรุกล้ำอธิปไตยของประเทศไทย ด้วยการอ้างว่าดินแดนเหล่านั้นเป็นของตนตลอดเวลาเรื่อยมาอย่างไม่สิ้นสุด

โดยนับตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา เหตุการณ์ตามแนวชายแดนก็ได้ร้อนระอุ เพราะการกระทำของเขมรอีกครั้ง นับตั้งแต่ ตาพระยา อรัญญประเทศ โป่งน้ำร้อน และหาดเล็ก ซึ่งทุกครั้งที่มีการรุกล้ำเกิดขึ้นนั้นก็หมายถึง การทำลายทรัพย์สินของฝ่ายไทย รวมทั้งชีวิตของคนไทยต้องสูญเสียไปด้วยกับเหตุการณ์นั้นเสมอๆ ไม่มากก็น้อย ไมตรีจิตที่ไทยหยิบยื่นให้ด้วยการลดราวาศอกต่อเหตุการณืร้ายเหล่านั้น ทำให้เสมือนหนึ่งเป็นการปล่อยให้เขมรย่ามใจ

แล้วการสูญเสียชีวิตคนไทยโดยน้ำมือเขมร ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด และทารุณกรรมที่สุดก็อุบัติขึ้น เมื่อคืนวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2520

จะไม่มีคนไทยคนใดลืมมันได้ลงสำหรับพฤติกรรมอันโหดเหี้ยมที่ยิ่งกว่าเดรัจฉาน ของเขมรนับร้อย เข้าสังหารชาวบ้านที่ไม่มีทางสู้จำนวนกว่า 30 คน ทั้งชาย หญิง คนแก่ เด็ก และคนท้อง อย่างสยดสยอง ก่อนที่พวกเขมรนั้นจะลงมือเผาหมู่บ้านชาวไทยทั้งสองแห่งแล้วหลบหนีออกไป อย่างลอยนวล โดยทิ้งรอยจารึกที่แสนรันทดและความเจ็บแค้นใจให้แก่คนไทยอย่างที่มิอาจลืม เลือนได้

- หมู่บ้านกกค้อ : เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากถนนสายอรัญญประเทศ-คลองลึก ไปทางทิศเหนือประมาณ 2 กม. และห่างจากพรมแดนไทย-เขมร ประมาณ 1 กม.

ชาวบ้าน 6 ครอบครัวที่อยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความสงบสุขตลอดมา แม่จะมีฐานะไม่สู้ดีนักแต่ทุกคนก็ไม่เคยหวาดระแวงภัยใดๆ เพื่อถือว่าที่นั่นคือ ผืนแผ่นดินไทย!!

แต่แล้ววันที่ทุกคนต้องสะอื้นให้กับชะตาชีวิตของพวกเขาก็มาถึง!!

คืนวันที่ 28 มกราคม 2520 เวลาประมาณ 4 ทุ่ม หลายคนในหมู่บ้านต้องสะดุ้งติ่นเมื่อได้ยินเสียงคล้ายเป็ดร้องดังลั่นทั้งๆ ที่เป็ดในหมู่บ้านนั้นก็มีเพียงสองสามตัวเท่านั้น รวมทั้งมีเสียงหมาที่พากันเห่าหอนผิดปกติ ทั้งๆ ที่ีร้อยวันพันปีหมาที่หมู่บ้านนี้ไม่เคยเห่ากระชั้นชิดเช่นนั้นเลย

ชาวบ้าน 4-5 คน พากันด้อมออกมามองที่ชายคาบ้าน ซึ่งไม่ดีไปกว่ากระต๊อบเท่าไหร่นัก ทุกคนได้แต่เงียบและไม่กล้าส่งเสียง นอกจากสมาชิกในครอบครับที่อยู่ด้วยกันที่พอจะกระซิบกระซาบกันเป็นเสียงเบาๆ บ้าง และต่างจับต้องเฝ้าดูสิ่งผิดสังเกตุ ซึ่งเสียงเหล่านั้นแม้จะคล้ายๆ เสียงสัตว์เลี้ยงมาก แต่มันก็ไม่เหมือนเลยเสียทีเดียว

ทันใดนั้น!! เสียงปืนก็รัวดังขึ้นถี่ยิบในระที่ไม่ห่างออกไปนักทางทิศเหนือ อันเป็นทิศทางที่ตั้งของหมู่บ้านหนองดอ ตะเกียงที่รั้วนั้นต่างก็ดับไปนานแล้ว ซึ่งข้างนอกก็มีแต่แสงสลัวๆ ของเดือนแรมอ่อนๆ และป่าต้นเพล๊กที่มีอยู่รอบหมู่บ้านก็ไหวยวบยาบตามแรงลมยามค่ำคืน

" ทุกคนยังไม่รู้เลยว่า ขณะนั้นภยันตรายได้ล้อมพวกเขาไว้หมดแล้ว !!"

จากนั้น!! แสงสว่างของแฟร์ในสงครามก็ได้ถูกยิงขึ้นไประเบิดอยู่บริเวณเหนือหมู่บ้านหนอ งดอ จนชาวบ้านที่อยู่ที่นี่ห็นได้ชัด แล้วเสียงปืนขนาดหนักก็ได้ดังขึ้นตามมาราวกับเสียงประทัดแตก เพียงครู่เดียวเท่านั้น ก็มีแสงเพลิงลุกโชติช่วงขึ้นที่นั่น

ถ้าพวกเขาไม่อยู่ไกลจนเกินไป พวกเขาจะได้ยินเสียงร้องวอนขอชีวิตของเพื่อนคนไทยอีกหมู่บ้านหนึ่ง เสียงเด็กน้อยร้องไห้จ้า และเสียงตระหนกตกใจสุดขีด

ทุกชีวิตตื่นกลัวและทิ้งบ้านช่องหนีเอาชีวิตรอดทันที พร้อมๆ กันนั้นเสียงปืนจากราวป่าริมหมู่บ้านก็ดังขึ้น ห่ากระสุนสาดเข้ามาปลิวว่อน จากนั้นพวกเขมรแดงในชุดดำโพกผ้าก็กรูกันเข้ามา ชาวบ้านหลายคนบ้างก็ถูกกระสุนตายคาบันได บ้างก็กระเสือกกระสนเพื่อดิ้นหนีแต่ก็ยังไม่ทันพ้นลานบ้านก็ถูกตามมายิงเอา แบบเผาขน ลูกพลัดพ่อ เมียพลัดผัว แม่พลัดลูก บางคนที่หนีออกมาได้นั้นต่างก็ซมซานไปข้างหน้าอย่างเดียว โดยไม่รู้ว่าข้างหน้านั้นจะประสบะตาเช่นใด จะรอดหรือไม่ในระหว่างทาง เพื่อที่จะเข้ามายังที่ตั้งของ ตชด. ทางใต้ ที่ห่างออกมาเป็นระยะทางไกลพอดู

เด็กหลายคนพยายามวิ่งฝ่าความมืดด้วยสัญชาติญาณของมนุษย์ที่จะเอาชีวิตรอด ต่างก็ถูกดาบปลายปืนแทงตายอย่างทารุณ อีกทั้งทารกที่ไร้เดียงสาส่วนหนึ่งประมาณ 2-3 คน ที่พลัดจากอกแม่ ต่างร้องไห้จ้าอยู่กลางลานบ้าน ก็ไม่เว้นจะถูกจับเชือดคออย่างน่าเอน็จอนาจใจ

อีกทั้ง ลุงบุญส่ง ชายสูงอายุในหมู่บ้าน กระโจนจากเรือนลงไปหลังบ้าน พร้อมหิ้วปืนลูกซองที่มีอยู่ประบอกเดียว ทั้งแกและลูกสาววัย 17 ได้ปักหลักยิงสู้กับพวกเขมรนั้น แต่ในที่สุดทั้งพ่อและลูกนั้นสุดท้ายก็ต้องจบชีวิตลง เป็นเหยื่อสังเวยความชั่วช้าอยู่ตรงริมรั้วนั้นเอง

เมื่อพวกเขมรนั้นเดินตรวจตรา หลังจากกระสุนนัดสุดท้ายได้เงียบลงแล้ว กองฟางที่อยู่ใกล้ๆ หมู่บ้านนั้นก็ถูกพวกมันจุดขึ้น และกลายเป็นเชื้อไฟเผาผลาญเอาบ้านแทบทุกหลังในหมู่บ้านนี้

หูที่ปร่าเพราะเสียงปืนของชาวบ้านคนหนึ่ง ซึ่งหมอบหลบเขมรใต้ขอนไม้ใหญ่ใกล้หมู่บ้าน ได้ยินเสียงเท้าหนักๆ นับร้อยคู่ย่ำผ่านเข้าไป ปนเปกับสำเนียงเขมร "โดว..โตว." ก่อนที่ทุกอย่างจะเงียบลงเหมือนตอนหัวค่ำ นอกจากเสียงปะทุของเปลวไฟ และกลิ่นคาวเลือดเท่านั้น

เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วประดุจสายฟ้าแลบก่อนหน้า 4 ทุ่ม เล็กน้อยที่หมู่บ้านหนองดอ ซึ่งห่างจากหมู่บ้านกกค้อขึ้นไปทางเหนือเพียง 6 กิโลเมตรเศษนั้น ยิ่งสยดสยองกว่าที่หมู่บ้านกกค้อหลายเท่านัก

โดยลักษณะก่อนเกิดเหตุที่หมู่บ้านหนองดอแห่งนี้นั้นก็คล้ายๆ กับที่เกิดขึ้น ณ หมู่บ้านกกค้อ แต่การจู่โจมของพวกฆาตกรโหดพร้อมทั้งอาวุธหนักอีกกลุ่มหนึ่งที่แยกกันทำงาน นั้นรวดเร็วกว่า รวมทั้งการที่ชาวบ้านหนองดอนั้นไม่เฉลียวใจมาก่อนว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ จึงทำให้ชาวบ้านที่มีอยู่เพียง 64 คน ในหมู่บ้าน ต้องสูญเสียชีวิตไปถึง 21 ชีวิต

ทั้งยังมี ผู้หญิงท้องถูกยิงโดยร่างไร้วิญญาณนั้นนอนอยู่ข้างๆ กับบุตรชายของเธอที่วัยเพียง 13 เดือน เท่านั้น และไม่ห่างกันเท่าไรนัก ก็มีร่างของเด็กอีกหลายคนที่ถูกจับเชือดคออย่างน่าสังเวชใจ ร่องรอยที่เด็กน้อยเหล่านั้นดิ้นทุรนทุรายก่อนสิ้นใจด้วยวัยที่ไร้เดียงสา ทำให้ดินบริเวณนั้นยังเป็นรอยมองเห็นเป็นถนัดสำหรับผู้พบเห็นในตอนนั้น อีกทั้งยังมีพี่น้องที่โชคร้ายอีกคู่ที่นอนสิ้นใจกอดกันกลมมีรอยกระสุนพรุน ทั่วทั้งตัว

!!มันเป็นภาพที่ทุกคนที่เห็นนั้น ไม่มีวันจะลืมเลือนลงได้!!

หลังจากก่อกรรมทำเข็ญ มาคร่าชีวิตชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ด้วยความทารุณ หนำซ้ำยังเผาหมู่บ้านเป็นจุลเหลือแต่ซาก โดยการบุกเข้าสังหารชีวิตคนไทยทั้งสองหมู่บ้านนี้ กระทำการในเวลาห่างกันเพียงไม่กี่นาที ชาวบ้านไม่มีทางต่อสู้กับศัตรูแห่งละนับร้อยเช่นนี้ได้เลย พวกเขาไม่มีโอกาสที่จะรู้ตัวด้วยซ้ำกับชะตาชีวิตเช่นนั้น

พวกเขมรเหล่านี้ต้องการอะไรหรือ ?? มันอ้างก่อนหน้านี้ไม่กี่วันว่า ดินแดนตรงนั้นเป็นของมัน แต่คนไทยเหล่านี้ก็รักแผ่นดิน พวกเขารู้ว่าผืนแผ่นดินตรงนั้นเป็นของคนไทย จนกระทั่งต้องแลกความเชื่อมั่นเหล่านั้นด้วยชีวิตของพวกเขาเอง จะมีใครบ้างที่เรียกร้องหาความยุติธรรมให้พวกเขาด้วยวิธีไหนได้บ้าง!! จนป่านนี้ยังไม่มีใครตอบได้

ขอวิญญานพวกเขาจงรับรู้ว่า "คนไทยทั้งหมดได้อาลัยต่อการเป็นเหยื่อของฆาตกรโหดในครั้งนี้ " แต่มันเพียงเท่านั้นละหรือ??

ในเวลาเดียวกันที่เขมรบุกเข้าสังหารคนไทยที่หมู่บ้านหนองดอและหมู่บ้านกกค้อ ก็ยังมีกำลังของทหารเขมรจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยนาย บุกเข้าล้อมหมู่บ้านน้อยป่าไร่ด้วย โดยหมู่บ้านนี้อยู่ห่างจากชายแดนเขมรเพียงกิโลเมตรเศษและไกลขึ้นไปทางเหนือ ของหมู่บ้านหนองดอประมาณ 2 กม. ซึ่งที่นี่เป็นจัดห่างฐานปฏิบัติการใหญ่ของ ตชด.มากที่สุดเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอีกทั้งสามแห่งนั้น

แต่หมู่บ้านเงียบสงัด เพราะชาวบ้านที่นี่อพยพออกจากหมู่บ้านไปหมดแล้ว ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ประมาณเดือนเศษๆ เพราว่าหลายคนต้องเสียชีวิตและพิการ เนื่องจากเหยียบกับระเบิด แต่หมู่ในหมู่บ้านก็ยังมี ตชด. อยู่ รวม 18 นาย ประจำอยู่ยังฐานปฏิบัติการย่อยแห่งนั้น

โดยฝ่ายเขมรเป็นฝ่ายสาดกระสุนเข้ามาในหมู่บ้านก่อน และเมื่อถูกรุกราน ตชด. ทั้งหมดที่เตรียมพร้อมอยู่จึงทำการตอบโต้ การปะทะเริ่มรุนแรงยิ่งขึ้น ฝ่ายเขมรทำการโอบล้อมกลุ่ม ตชด.เหล่านั้น เข้าเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว เปิดทางเอาไว้ หันไปทางชายแดนเขมร

การได้เปรียบของ ตชด. ไทย ซึ่งอยู่ในที่กำบัง จึงทำให้กำลังของเขมรหลายคนถูกลูกปืน ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นยืนยันว่าเห็นเขมรลากเพื่อที่บาดเจ็บจำนวนมากล่าถอยออก ไปด้วย ซึ่งหลังจากการปะทะกันประมาณ 20 นาที ฝ่ายเขมรจึงล่าถอยออกไป

อย่างไรก็ตาม จากการประเมินกำลังของเขมร ตชด.เหล่านั้น เชื่อว่าเขมรพวกนั้นจะต้องกลับมาบุกพวกเขาอีกแน่นอน และก็เป็นความจริง เพราะอีกไม่เกินครึ่งชั่วโมงต่อมา กำลังทหารของฝ่ายเขมรนั้นก็กลับเข้ามาโจมตีซ้ำอีก

เมื่อเห็นท่าไม่ดี ตชด.ประจำหน่วยบ้านน้อยป่าไร่ก็วิทยุขอกำลังเสริมมาช่วย แต่ทว่าในยามกลางคืนและป่าที่รกชัดเช่นนั้น กำลังสนับสนุนจะปลอดภัยหรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนเส้นทางแคบๆ สายเดียวสู่หมู่บ้านน้อยป่าไร่ อาจถูกวางกับระเบิดเอาไว้เต็มไปหมดแล้วก็เป็นได้

โดยกำลังของ ตชด. เหล่านั้น หลายนายบ้างก็โดนกระสุนปืนของฝ่ายตรงข้าม แต่ส่วนมากไม่ถูกที่สำคัญนัก นอกจากท่าน จ.ส.ต.ภิรมย์ แก้ววรรณา ซึ่งโดนเข้าอย่างจังถึงกับเสียชีวิตหลังโดนยิงไม่นานนัก แต่ขณะนั้นทุกคนจะมัวเป็นห่วงใครไม่ได้เลยเพราะต้องระดมกำลังทั้งหมดที่มี อยู่นั้นเข้าต้านทานฝ่ายข้าศึกที่มีจำนวนมากกว่าหลายเท่า เพื่อประวิงเวลาให้หน่วยสนับสนุนเข้ามาช่วยเท่านั้น

เสียงหูดับตับไหม้ของการยิงต่อสู้ที่ผ่านเข้ามายังเครื่องรับ ณ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 2 กับเสียงการรายงานขอความช่วยเหลือด่วนของเหล่า ตชด. ที่นั่น ทำให้ พ.ต.ท.สมนึก พลสิทธิ์ ผู้กำกับการฯ ว้าวุ่นใจอย่างยิ่ง ทั้งกำลังที่มีอยู่ที่นี่เองก็น้อย ส่วนการสนับสนุนทางอากาศก็คงทำไม่ไหว ท่านจึงตัดสินใจให้ ตชด. จำนวนหนึ่งนำรถหุ้มเกราะออกไปสนับสนุนช่วยเหลือหน่วยที่อยู่ฐานบ้านน้อยป่า ไร่ โดยมี ส.ต.อ.ดาบศึก ชีวะโต เป็นหนัวหน้าชุด

จากนั้น !! ทุกนายก็เคลื่อนล้อรถเกราะออกไป เพื่อเข้าไปยังเขตแดนอันตราย จุดมุ่งหมายอยู่ที่บ้านน้อยป่าไร่ !!

หลังจากที่รถเกราะนั้นวิ่งมาได้เพียงประมาณ 20 นาที จวนจะถึงหมู่บ้านแรกคือหมู่บ้านกกค้อ ก็ถูกดักซุ่มโจมตีจากกำลังส่วนหนึ่งของอีกฝ่ายที่อยู่สองข้างทางอย่างหนัก หน่วง แต่ไม่ได้รับความเสียหายและทั้งหมดนั้นไม่ทำการตอบโต้ โดยมุ่งตรงไปข้างหน้า ณ จุดที่เพื่อนอยู่ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนๆ เท่านั้น

รายงานจากหน่วยรถเกราะชุดนั้น ได้แจ้งว่า ถูกโจมตีอย่างหนักด้วยอาวุธร้ายแรง แม้จะยังไม่เป็นอะไร แต่ผู้กำกับฯ สมนึก ไม่ค่อยมั่นใจเลยว่า หน่วนสนับสนุนนั้นจะสามารถเข้าไปช่วยพรรคพวกที่ถูกล้อมอยู่นั้นทันหรือป่าว

แล้วความคิดของท่านก็เป็นจริง เมื่อรถเกราะคันนั้นแล่นเข้าเขตหมู่บ้านน้อยป่าไร่ ซึ่งเหลือระยะทางเพียงประมาณไม่ถึง 1 กม. เท่านั้น ก็จะถึงที่หมายแล้ว แต่ก็โดนกับระเบิดอย่างจังเข้า จนเพลารถนั้นขาดหยุดกับที่และล้อหลังด้านซ้ายนั้นขาดกระเด็นหายไปในความมืด แต่ ตชด. ทุกนายปลอดภัย ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย แต่ก็สามารถต่อสู้ต่อไปได้

จากนั้น ส.ต.อ.สมนึก หัวหน้าชุด ก็บอกกับเพื่อนๆ ที่มาด้วยกันให้ออกจากรถแล้วให้หลบเข้าไปกำบังในหลุมระเบิดเมื่อครู่ และให้พลปืนประจำรถเกราะนั้นยิงกราดออกไปเพื่อคุ้มกันกำลังที่เหลือก่อน จากนั้นการปะทะกันระหว่าง ตชด.ชุดช่วยเหลือกับเหล่าทหารเมมรก็เริ่มขึ้น

ท่านผู้กำกับฯ สมนึก พยายามคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่ แต่ก็ยังคิดไม่ออก จนกระทั่ง รองผู้กำกับฯ ท่าน พ.ต.ท.วาริชัย สุริยกุล ณ อยุธยา เสนอให้ใช้เครื่องบินตรวจการณ์หมายเลข 1603 ที่มีอยู่เพียงลำเดียวนั้น ออกไปยิงสนับสนุน โดยรับอาสาจะไปกับเครื่องบินลำนี้ด้วย

ผู้กำกับฯ สมนึก จึงตัดสินใจ ใช้วิธีนั้น!! เครื่องบินตรวจการณืลำนี้ใช้งานอยู่ใน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 2 มานานแล้ว มันเก่าคร่ำคร่าและมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์นัก และเคยมีครั้งหนึ่งในการปฏิบัติการคราวหนึ่งที่เครื่องสะดุดหยุดเอาเฉยๆ ดื้อๆ จนทำให่ผู้ที่อยู่บนเครื่องคราวนั้นหายใจไม่ทั่วท้องมาแล้ว แต่แล้วช่างเครื่องก็สามารถแก้ไขให้กลับมาใช้ได้อีก

พ.ต.ท.วาริชัย ท่านคลุกคลีกับเครื่องบินลำนี้มานาน เพราะนพลาดตระเวนหาข่าวตามแนวชายแดนเสมอ และท่านก้ได้นำปืนกลเบากระบอกหนึ่งที่ดัดแปลงขาตั้งด้วยเงินเดือนของตน ประมาณ 70 บาท ติดตั้งเข้ากับเครื่องบินตรวจการณ์ลำนี้เอาไว้ เพื่อป้องกันตนเองในยามฉุกเฉิน

จากนั้น กำลังสนับสนุนชุดสุดท้ายทางอากาศ ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.วาริชัย นั้นต้องบินเครื่องโดยดับไฟทั้งหมด มุ่งตรงไปยังหมู่บ้านน้อยป่าไร่ ซึ่งขณะนั้นเขมรได้เร่มจุดไฟเผารอบหมู่บ้าน โดยหวังจะให้กำลัง ตชด.ที่เหลืออยู่ทั้ง 17 นาย ให้ตกอยู่ในกองไฟนั้นเอง

ส่วนชุดสนับสนุนรถเกราะที่โดนระเบิดนั้น กำลังพากันยิงต่อสู้กับเขมรอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ โดยได้วิทยุแจ้งขึ้นมายังเครื่องให้ทราบด้วยว่า พวกตนสามารถตรึงกำลังของเขมรไว้ได้แล้ว ขอให้บินไปช่วยหน่วยบ้านน้อยป่าไร่เท่านั้นเป็นพอ ไม่ต้องเป็นห่วงพวกตน

เมื่อเครื่องบินบินอยู่เหนือหมู่บ้านน้อยป่าไร่ พ.ต.ท.วาริชัย ก็มาทำหน้าที่พลปืน ได้กราดยิงลงไปยังจุดที่เขมรซ่อนอยู่ ตามเป้าที่หน่วย ตชด. ที่ฐานบ้านน้อยป่าไร่แจ้งไว้ให้ทราบ และเพียงประมาณ 20 นาทีเท่านั้น ปืนกลที่ใช้งานมานานก็เกิดขัดลำกล้อง จึงได้วิทยุแจ้งไปยังกองกำกับฯ ให้ถอดปืนประจำรถเกราะอีกคันหนึ่ง ซึ่งจอดรออะไหล่บางชิ้นมานานร่วมเดือนเอาไว้ เพื่อรอเปลี่ยนแทนปืนกลเบาโบราณกระบอกนั้น

หลังจากที่กลับไปเพื่อทำการเปลี่ยนอาวุธเสร็จ เครื่องบินตรวจการณ์ที่ถูกนำมาเป็นเครื่องบินโจมตีในยามฉุกเฉินนี้ ก็บินกลับเข้าไปยังหมู่บ้านน้อยป่าไร่อีกครั้งหนึ่ง

ผลตอบรับคือ อานุภาพของปืนประจำรถถัง ตชด. นั้น ทำให้เสียงปืนของฝ่ายเขมรเงียบหายไป ตชด.ทุกนายที่อยู่ข้างล่างต่างก็ใจชื้นขึ้นมาบ้าง ซึ่งความหวังที่จะรอดนั้นมีเปอร์เซ็นต์มากขึ้นอีก เพราะอีกประมาณชั่วโมงเดียวก็จะเช้าแล้ว

การโจมตีของเขมรทั้งสองจุดนั้นเงียบหายไป ทุกคนต่างเร่งและรอให้สว่างเร็วๆ เพราะความมืดกับกำลังที่น้อยกว่ามันไม่ค่อยยุติธรรมสำหรับพวกเขาเหล่านั้น เลย

ในขณะที่เครื่องบินตรวจการณ์ที่ต่อมาไปร่อนลงที่สนาม ยังไม่ทันจอดสนิท ผู้บังคับการ ตชด.ภาค 1 พล.ต.ต.สมโภชน์ วิไลจิต ที่บึ่งรถจาก กทม. ทันทีที่ได้รับรายงานนั้นก็ไปถึงพอดี

หลังจากนั้น นายตำรวจถูกเรียกเข้าประชุมด่วน ทุกคนมีสีหน้าที่เคร่งเครียด ดำคล้ำ เพราะเหตุการณ์ที่ร้ายแรงนั้นมัน้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกือบแก้ปัญหาไม่ ได้

และแล้ว แผนงานสำหรับวันรุ่งขึ้นก็ถูกกำหนดขึ้นอย่างละเอียด ไม่มีใครรู้ว่าเหตุการณืที่อาจร้ายแรงกว่านี้นั้นจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ซึ่งข้าราชการฝ่ายปกครองตามอำเภอชายแดนนั้น เป็นอีกพวกหนึ่งที่ต้องประสบกับความยุ่งยากลำบากใจอย่า่งยิ่งก็คือ การที่จะต้องพยายามสอดส่องเอาใจใส่ประชาชนในที่ห่างไกลอย่างจริงจัง ลำพังการพยายามพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้นนั้นก็ยากอยู่แล้ว

แต่อีกสองสิ่งที่ยากไปกว่านี้ก็คือจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยให้กับประชาชน ร่วมกับ ตชด. หรือทหารอีกด้วย และไม่เพียงเท่านั้น นโยบายต่างประเทศของไทยที่พยายามเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศ ยิ่งต้องทำให้พวกเขาต้องคอยระแวดระวังการดำเนินการใดๆ ก็ตามของอีกฝ่ายตลอดเวลา

!!ฟ้าสางแล้ว!! แสงตะวันเช้านั้น แสดเข้มปนแดงราวสีเลือด ผู้รอดชีวิตหลายคนที่หนีรอดมาได้ ต่างก็เล่าเหตุการณ์อันป่าเถื่อนจากน้ำมือเขมรโหดเหล่านั้น หลายคนสติแทบไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เพราะสี่ภาวะจิตใจของพวกเขาไม่สามารถที่จะทนต่อภาพที่ได้เห็นมาหยกๆ อีกต่อไปเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก็เริ่มทำงานกันอย่างหนัก

โดยเมื่อเข้าเคลียร์พื้นที่ท่านอธิบดีกรมตำรวจขณะนั้น ถึงกับอุทานออกมาว่า โหดร้ายที่สุดเท่าที่เคยพบมา!!

**เนื้อหาข้อมูลและภาพทั้งหมดชมได้ที่ :
http://www.bpp126.org/mainsite/index.php?option=com_content&task=view&id=237&Itemid=40

ขอขอบคุณทางเพจ สงครามประวัติศาสตร์ ไว้โอกาสนี้ด้วยครับ :D

สมเด็จพระสังฆราช ไทย

ประวัติความเป็นมาของตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช ไทย"

สังฆราช หรือที่เรียกในสังฆมณฑลไทยว่า สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้จารึกคำว่าสังฆราชไว้ด้วย สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นตำแหน่งสมณะศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทย ทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจากคณะสงฆ์ไทย นำแบบอย่างมาจาก ลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่ของลังกา ที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย

สมัยกรุงสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็น สกลมหาสังฆปรินายก มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง โดยมีพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่าย คามวาสี เป็นสังฆราชขวา สมเด็จพระวันรัตเจ้าคณะฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่า ก็ได้เป็นพระสังฆราช ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป มีความชอบมาก เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชดำริให้คงราชทินนามนี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี และมาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาญาณ ในสมัยกรุงธนบุรี และได้ใช้ต่อมาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คือฝ่ายที่พำนักอยู่ใกล้เมืองเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย เรียกว่า คามวาสี อีกฝ่ายหนึ่งบำเพ็ญสมณธรรมในที่สงบเงียบตามป่าเขา ห่างไกลจากบ้านเมืองเรียกว่า อรัญวาสี ภิกษุ แต่ละฝ่ายยังแบ่งออกเป็นคณะ แต่ละคณะจะมีพระราชาคณะปกครอง หัวหน้าพระราชาคณะเรียกว่า สมเด็จพระราชาคณะ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนพระอิสริยยศสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ทรงเศวตฉัตร 5 ชั้น พระราชวงศ์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฏ มีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำหน้า พระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย
และขอขอบคุณทางเพจ ประวัติศาสตร์ราชอานาจักรสยาม